ไขคำตอบจากแชมป์ของเลสเตอร์ : วิ่งถูกท่า ไปถูกที่ เปลี่ยนชีวิตกองหน้าได้แค่ไหน ?

ไขคำตอบจากแชมป์ของเลสเตอร์ : วิ่งถูกท่า ไปถูกที่ เปลี่ยนชีวิตกองหน้าได้แค่ไหน ?
ชยันธร ใจมูล

ทุกครั้งที่มีข้อถกเถียงกันกว่า นักบอลไทยวิ่งไม่เยอะ มักจะคำค่อนขอดจนมีวลีที่ว่า "นักบอลไม่ใช่นักวิ่ง" ให้ได้บลัฟกันไปบลัฟกันมาเสมอ

เล่นฟุตบอลต้องวิ่งไหม ต้องวิ่งยังไง และการวิ่งเปลี่ยนชีวิตกองหน้าคนหนึ่งได้แค่ไหน เราจะยกตัวอย่าให้เห็นภาพชัดจาก ชินจิ โอกาซากิ ที่เปลี่ยนจากกองหน้าโนเนมกลายเป็นกุญเเจสำคัญที่ทำให้ เลสเตอร์ ซิตี้ สร้างประวัติศาสตร์แชมป์พรีเมียร์ลีก

กองหน้าสำหรับฟุตบอลยุคใหม่

อย่างแรกเลยตามตำรับตำรากองหน้าของโลกใบนี้เรามีนักเตะมากมายหลายรูปแบบ กองหน้าสายจบสกอร์ เข้าข้อยิงเป็นหายแบบ อลัน เชียร์เร่อร์, กองหน้าตัวเป้าสายค้ำสายชนสายโหม่งอย่าง ไนออล ควินน์ หรือ เอมิล เฮสกีย์

The five Guinness World Records still held by Alan Shearer - 16 years after  he retired - Chronicle Live

กองหน้าสายครบเครื่อง วิ่ง เลี้ยง ยิง จ่าย ทำได้หมดแบบ เธียร์รี่ อองรี, กองหน้าตัวต่ำเซนส์บอลสูงสร้างโอกาสยิงประตูให้กับทีมได้ตลอดเวลาแบบ เดนิส เบิร์กแคมป์ จนกระทั่งมาถึงโลกฟุตบอลในยุคหลังปี 2010 ที่เทรนด์ของฟุตบอลเปลี่ยนไป จึงทำให้เกิดของหน้าที่ชื่อว่า Pressing Forward คือกองหน้าสายวิ่ง

อธิบายเพิ่มเติมตาบทความของ Coach Voice ขยายความคำว่า เพรสซิ่ง ฟอร์เวิร์ด ว่า "เมื่อโลกฟุตบอลให้ความสำคัญกับการเพรสซิ่ง ไม่มีนักเตะคนไหนที่จะหยุดวิ่งได้... ถ้าทีมของคุณมีคนที่วิ่งน้อย คุณจำเป็นจะต้องมีคนที่วิ่งเพิ่มเพื่อทดแทนในส่วนของเขา เพื่อให้เกิดสมดุลเกมรับ-เกมรุก สำหรับฟุตบอลยุคใหม่"

แค่อ่านจากคำอธิบายนี้คุณจะนึกภาพออกได้ทันทีว่า กองหน้าสายเพรสซิ่ง ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งคือ ชินจิ โอกาซากิ ช่วงเวลาสั้น ๆ ของเขากับ เลสเตอร์ เขารับหน้าที่คอยวิ่งไล่บอลไปทั่วสนาม ขยับไปรับ ขยับไปไล่ ช่วยให้ทีมได้เล่นสถานการณ์ 2 ต่อ 1 ไม่ว่าจะในเกมรับหรือเกมรุก

Shinji Okazaki set to make return to pitch for Leicester City - The Japan  Times

ดังที่ เคลาดิโอ รานิเอรี่ กุนซือชุดเเชมป์ของ เลสเตอร์ เคยพูดถึง โอกาซากิ ว่า "เขาวิ่งเหมือนกับมีพี่ชายฝาแฝดอีกคนอยู่ในสนาม" ซึ่งมีความหมายซ่อนอยู่ว่า โอกาซากิ ไปอยู่ในทุกจังหวะสำคัญทุก ๆ ที่ ... ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ความขยันของกองหน้าชาวญี่ปุ่นอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเจ้าตัว "เรียนพิเศษ" สำหรับการวิ่งมาโดยเฉพาะ

เรียนรู้การวิ่งชีวิตเปลี่ยนแน่

โอกาซากิ ไม่ใช่กองหน้าสายยิงมาแต่ไหนแต่ไหน แต่เมื่อเขาย้ายจาก ไมนซ์ มาอยู่กับ เลสเตอร์ ในปี 2014 เขาได้รับมอบหมายจาก รานิเอรี่ ด้วยการวางให้เป็น "ลมใต้ปีก" ของ เจมี่ วาร์ดี้ หน้าที่ของเขาคือเป็นกองหน้าที่ต้องประสานกับ วาร์ดี้ ตอนที่ทีมเล่นเกมรุก และเมื่อทีมเล่นเกมรับเขาจะเป็นคนที่รับหน้าที่ไล่แย่งคืนบอลมาตั้งแต่เเดนคู่ต่อสู้

"พูดตามตรงเราจะไม่ได้เห็นเขาวิ่งฉลองดีใจหลังจากทำประตูมากนัก ภาพที่เห็นคือเขาจะลงไปกองกับพื้น เขาเป็นม้าศึกทำงานหนัก วิ่งข้ามสนามเพื่อกดดันแนวรับของฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันก็เต็มใจไล่ตามเอาบอลคืนโดยไม่สนสาเหตุ และเขาจะเปลี่ยนจากเกมรับเป็นรุกอย่างรวดเร็ว" FourFourTwo อธิบายความเก่งเฉพาะตัวของ โอกาซากิ

Jamie Vardy to Arsenal: Shinji Okazaki backs Leicester striker to be a  success with the Gunners if he seals move | The Independent | The  Independent

และเรื่องนี้มันเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่เขาเริ่มอาชีพค้าแข้งเเล้ว

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2007 โอกาซากิ ได้รับการยกย่องจากวงการฟุตบอลญี่ปุ่นว่าเขาคืออนาคต แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็เหมือนน้ำไม่เต็มเเก้ว เขาอธิบายว่าเขาอยู่นิ่งไม่ได้ เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ได้มีพรสวรรค์มากเหมือนนักเตะรุ่น ๆ เดียวกันอย่าง เคซึเกะ ฮอนดะ

"วิธีการเล่นของผมไม่มีพรสวรรค์หรือเทคนิคมาเกี่ยวข้องมากนัก ทุกอย่างแก้ไขได้ทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะวิ่งช้าเกินไป หรือโหม่งไม่เก่งก็ตาม" โอกาซากิ กล่าว

ในปี 2007 โอกาซากิ ได้เรียนคอร์สพิเศษกับ ทัตสึโอะ ซูกิโมโตะ อดีตแชมป์นักวิ่ง 100 เมตรของญี่ปุ่น ที่เคยแข่งขันโอลิมปิกในปี 1992 ... ซูกิโมโตะ เป็นเทรนเนอร์พิเศษของเขาที่จะมาสอนเฉพาะการวิ่ง สิ่งที่ โอกาซากิ ได้จากคอร์สนี้คือ การเปลี่ยนท่าวิ่ง การจัดระเบียบร่างกายระหว่างวิ่งเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดทั้งตอนมีบอล และไม่มีฟุตบอลอยู่กับตัว

In Photos: Historic moments of the Olympic Games -- Barcelona  1992[写真特集16/39]- 毎日新聞
ทัตซึโอะ ซึกิโมโตะ (คนซ้ายสุด)

เมื่อวิ่งถูกท่า ถูกวิธี ถูกสถานการณ์ ก็ทำให้เขาวิ่งได้เร็วขึ้นและระยะทางมากขึ้น ส่วนเรื่องการวิ่งให้ถูกที่ ถูกทาง วิ่งให้เกิดประโยชน์กับทีมก็เป็นเรื่องของโค้ชที่ใช้งานเขาว่าจะสั่งเขาแบบไหน บังเอิญว่าคนที่สั่ง โอกาซากิ คือ รานิเอรี่ คนที่แตกฉานเรื่องฟุตบอล และเข้าใจว่านักเตะคนไหนถนัดอะไร เขาจึงเลือกใช้ โอกาซากิ ได้ถูกวิธีที่สุด ซึ่งนั้นก็เป็นวิธีที่ทำให้เขากลายเป็นกองหน้าสายวิ่งที่อาจจะยิงไม่เยอะ แต่สร้างประโยชน์ให้ทีมได้มากที่สุด มากจนชนิดที่ว่าพา เลสเตอร์ คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกเลยทีเดียว

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า "แม้นักบอลจะไม่ใช่นักวิ่ง" แต่ฟุตบอลยุคนี้คุณไม่มีทางปฎิเสธได้เลยว่ามันเกี่ยวกับการวิ่งเต็ม ๆ คุณขยับตัว คุณมองไปยังเป้าหมาย ถ้าคุณไปถึงก่อน คุณก็จะได้ฟุตบอลมาครอง และเมื่อคุณได้ฟุตบอลมาครองแถมคุณยังมีไอเดียการเล่นเกมรุกที่เกิดจากการฝึกซ้อมที่เข้มข้นอยู่เต็มหัว คุณก็จะเปลี่ยนรับเป็นรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าการ "ทรานซิชั่น" ซึ่งทุกทีมบนโลกนี้ล้วนให้ความสำคัญกันอย่างที่สุด

วิ่งให้ถูกวิธี ให้ตรงตามแท็คติก มีแต่ประโยชน์ทั้งนั้น ต่อให้คุณเป็นนักฟุตบอลไม่ใช่นักวิ่งก็ตาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เทียบกับอดีต : ACL มีบทลงโทษอะไรรอ 'เจ้อเจียง' อยู่บ้าง ?

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ