PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพฟุตบอลในการแข่งขันไทยลีกแค่ไหน ?
เรื่องฝุ่น PM 2.5 กลับมาเป็นประเด็นในสังคมไทยอีกครั้ง หลังสภาพอากาศย่ำแย่และเริ่มส่งผลต่อสุขภาพประชาชนไทยในแทบทุกพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่ากีฬาฟุตบอลย่อมได้รับผลกระทบด้วย เพราะเป็นกีฬาที่ต้องลงเล่นกลางแจ้ง ทั้งนักเตะและแฟนบอลย่อมเสี่ยงกับสภาพอากาศเหล่านี้มากกว่าการอยู่ในที่ปิด
มีการแบ่งระดับความเข้มข้นของ PM 2.5 ในหลายระดับตั้งแต่สีฟ้า(ดีมาก), สีเขียว(ดี), สีเหลือง(ปานกลาง),สีส้ม(เริ่มมีปัญหาต่อสุขภาพ) และ สีเเดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)
ซึ่งที่เป็นประเด็นในฟุตบอลไทยตอนนี้คือเกมคู่ระหว่าง เชียงราย ยูไนเต็ด กับการท่าเรือ เอฟซี ที่ฝั่งเชียงรายออกมาขอเลื่อนการเเข่งขันออกไป เนื่องจากสภาพอากาศในจังหวัดเชียงรายอยู่ในโหมดสีเเดงหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง
ผลของการขอเลื่อนไม่เป็นผล เกมคู่นี้ยังคงแข่งขันกันในวันที่ 4 เมษายน ต่อไป และนั่นเลี่ยงไม่ได้ที่นักเตะจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศเหล่านี้ ... และนี่คือสิ่งที่พวกเขาอาจจะต้องเจอจากผลกระทบของการหายใจเอา PM 2.5 ในระดับสีแดงขึ้น
PM 2.5 คืออะไร ?
PM 2.5 หรือ Particulate Matter 2.5 คืออนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่มีขนาด 2.5 ไมโครเมตหรือ เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ แน่นอนว่าการที่สัมผัสกับ PM 2.5 ในระดับสูงจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยจะส่งผลต่อสุขภาพดังนี้
1. ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
การสัมผัสกับ PM2.5 อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และการทำงานของปอดลดลง อนุภาคสามารถระคายเคืองทางเดินหายใจและทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้หายใจลำบาก
2. ปัญหาเรื่องหัวใจและหลอดเลือด
PM2.5 อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน การศึกษาพบว่าการได้รับ PM2.5 ในปริมาณสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ
ไฮไลต์เกมล่าสุดที่ทั้งสองทีมพบกัน
3. อาจะส่งผลถึงมะเร็ง
PM2.5 ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) การสัมผัสกับ PM2.5 ในระดับสูงเป็นเวลานานสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดและมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้
4. ผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และพัฒนาการ
การได้รับ PM2.5 ในระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อน้ำหนักแรกเกิดต่ำ การคลอดก่อนกำหนด และปัญหาพัฒนาการอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์ของชายและหญิง
5. ปัญหาทางระบบประสาท
การศึกษาพบว่าการสัมผัสกับ PM2.5 อาจส่งผลต่อสุขภาพของระบบประสาท มีการเชื่อมโยงกับการลดลงของความรู้ความเข้าใจ ภาวะสมองเสื่อม และอื่นๆ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรที่การขอเลื่อนแข่งไม่เป็นผลก็ตาม แต่ดูเหมือนว่านักเตะทั้ง 2 ฝั่งในเกมนี้จะคงต้องเตรียมตัวรับมืออย่างหนัก ซึ่งเบื้องต้นที่พอจะป้องกันได้คือการใส่หน้ากาก N95 ซึ่งนั่นอาจจะยากสักหน่อยสำหรับการแข่งขันจริง เพราะนอกจากจะกันฝุ่น PM 2.5 ในทางตรงกันข้ามก็ทำให้หายใจลำบาก และจะส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมาเช่นกัน ดังนั้นเบื้องต้นที่ทำได้คงต้องพยายามล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออนามัย ที่จะสามารถชะล้างเอาฝุ่น PM 2.5 ที่เกาะบนผนังจมูกออกไปได้... นี่คงเป็นวิธีที่พอจะทำได้ภายในช่วงเวลาที่ต้องเล่นท่ามกลางสภาพอากาศที่ย่ำแย่เช่นนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ใจได้ สู้สนุก : 5 แข้งไทยยู 23 ฟอร์มเยี่ยมเกมดวล ซาอุดิอาระเบีย
โจนาธาร เข็มดี : เซนเตอร์พันธุ์ห้าวดาวดวงใหม่ทัพช้างศึก
ไม่มีเกมแต่มีของ : ปุรเชษฐ์ ทอดสนิท ไพ่เด็ดทีมชาติไทยชุดยู-23
จากดาวรุ่ง T3 : ธีรศักดิ์ เผยพิมาย วันเดอร์คิดท่าเรือฯ ผู้แจ้งเกิดสำเร็จเพียง 1 เดียว