บอลโลกห้ามได้...แต่ไว้เจอกันข้างนอก : เบื้องหลัง "ท่าปิดปาก" ของทีมชาติเยอรมัน

บอลโลกห้ามได้...แต่ไว้เจอกันข้างนอก : เบื้องหลัง "ท่าปิดปาก" ของทีมชาติเยอรมัน
ชยันธร ใจมูล

การทำท่าปิดปากในช่วงการถ่ายรูปทีมก่อนลงดวลทีมชาติญี่ปุ่น ของ เยอรมัน ในฟุตบอลโลก 2022 หลายคนอาจจะรู้กันว่านี่เป็นเรื่องของการประท้วงและส่งสัญญาณไปยัง FIFA รวมถึงเจ้าภาพอย่าง กาตาร์ ที่ห้ามพวกเขาสวมปลอกแขน One Love ที่แสดงถึงการสนับสนุนเรื่องความหลากหลายทางเพศ

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การแสดงเชิงสัญลักษณ์อย่างเดียวเท่านั้น และเรื่องนี้อาจร้ายแรงถึงขั้นที่ เยอรมัน จะยื่นฟ้องร้อง และขอออกจากการเป็นสมาชิก FIFA เลยทีเดียว ... และนี่คือเรื่องที่ Think Curve - คิดไซด์โค้ง เขียนให้คุณอ่าน

บทความที่น่าสนใจ : สงสัยป่ะ ? : เอกวาดอร์ มีคนดำในประเทศแค่ 7% แต่ทำไมนักเตะทีมชาติเป็นคนดำเกือบทั้งทีม ?

สงสัยป่ะ ? : เอกวาดอร์ มีคนดำในประเทศแค่ 7% แต่ทำไมนักเตะทีมชาติเป็นคนดำเกือบทั้งทีม ? | Think Curve
เบื้องหลังชัยชนะที่น่าชื่นชอมของทีมชาติ เอกวาดอร์ นั้นมีเรื่องที่ชวนหาคำตอบอยู่ 1 เรื่อง นั่นคือ “เอกวาดอร์ มีคนดำในประเทศ 7% แต่ทำไมนักเตะทีมชาติเป็นคนดำเกือบทั้งทีม ?”

เยอรมัน ตะบันแหลก

เยอรมัน คือชาติที่เป็นตัวตั้งตัวตีในฟุตบอลโลกครั้งนี้สำหรับการต่อต้านการเป็นเจ้าภาพของกาตาร์ รวมถึงการพยายามปิดปากไม่ให้แต่ละชาติมีสิทธิ์มีเสียงเเสดงจุดยืน โดยเฉพาะเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ที่พวกเขาต้องการจะให้กัปตันทีมได้สวมใส่ปลอกแขนลายสีรุ้งที่ชื่อว่า One Love ที่แสดงถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศ

Photo : Marca

ฟีฟ่า ก็พยายามจะห้ามด้วยการขู่จะปรับเงิน ทว่าทาง เยอรมัน ก็นำทัพร่วมกับชาติอย่างอังกฤษ เวลส์ และ เดนมาร์ก ทำการแข็งข้อพร้อมสวมใส่ปลอกแขนดังกล่าวและยอมให้ฟีฟ่าปรับเงินโดยไม่สะทกสะท้าน

อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่า ไม่ยอมง่าย ๆ และตั้งกฎใหม่ที่หนักข้อขึ้นกว่าเดิมด้วยการประกาศกฎใหม่ว่าหากชาติใดยังต่อต้านคำสั่งจากนี้จะไม่ใช่แค่การปรับเงิน แต่นักเตะที่สวมปลอกแขน One Love จะต้องโดนใบเหลืองด้วย เมื่อออกกฎที่ส่งผลในสนามทำให้ เยอรมัน และชาติอื่น ๆ ต้องจำยอมกับกฎดังกล่าว

อย่างไรก็ดี เยอรมัน คือชาติที่เชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพเป็นอย่างมาก พวกเขาแสดงออกด้วยการให้นักเตะทำท่าปิดปาก เพื่อต่อต้านการประทำของ ฟีฟ่า ที่พยายามปิดปากชาติที่เข้าแข่งขันด้วยกฎที่ไม่เป็นธรรม  นอกจากนี้พวกเขาจะต่อต้านฟีฟ่า ให้ยิ่งกว่าแค่การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อีกต่างหาก อารมณ์ประมาณว่าเอากฎมาบังคับกันแบบนี้ผมก็ยอมให้ … แต่เดี๋ยวเจอกันข้างนอก

ในสนามผมยอม... แต่เดี๋ยวเจอกัน

"เราต้องการใช้ปลอกแขนกัปตันของเราเพื่อยืนหยัดในค่านิยมที่เรายึดมั่นในทีมชาติเยอรมนี : ความหลากหลายและความเคารพซึ่งกันและกัน ร่วมกับประเทศอื่น ๆ เราต้องการออกเสียงที่เรามีให้คนอื่น ๆ ได้ยิน"
“มันไม่เกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง แต่มันคือสิทธิมนุษยชน และสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถต่อรองได้ มันควรได้รับการพิจารณา แต่พวกเขาก็ยังปฎิเสธ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมข้อความนี้จึงสำคัญสำหรับเรา การปฏิเสธไม่ให้ปลอกแขนกับเราคือ ก็เหมือนกับการปฏิเสธเสียงของเราด้วย แน่นอนเราจะยืนหยัดตามปณิทานของเรา"  แถลงการณ์จาก เดเอฟเบว่า อย่างนั้น

เรื่องนี้ไม่จบแค่ในสนามเพราะมีการรายงาน Bild สื่อของเยอรมัน ที่ชื่อถือได้บอกว่า DFB กำลังรวบรวมข้อมูลทางกฎหมายเพื่อฟ้องร้องฟีฟ่าสำหรับการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขา โดยทาง DFB จะยื่นฟ้องเรื่องต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาระหว่างประเทศเลยทีเดียว

The Times

นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า เยอรมัน ได้แสดงการเป็นฝั่งตรงข้ามกับ จานนี่ อินฟานติโน่ บอสใหญ่ของทางฟีฟ่า ด้วยการขู่ว่าต่อจากนี้จะไม่มีการยกมือสนับสนุนแนวคิดต่าง ๆ ของทาง อินฟานติโน่ อีกต่อไป  

ยิ่งไปกว่านั้นล่าสุดสด ๆ ร้อน ๆ ทีมชาติเดนมาร์ก ก็รับลูกเรื่องนี้ด้วย โดย จาค็อบ เยนเซ่น ผู้บริหารระดับสูงของสหพันธ์ฟุตบอลเดนมาร์ก ที่เผยว่าชาติในกลุ่ม The Group of Seven (G7) นำโดย แคนาดา,ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร โดยทาง เดนมาร์ก นั้นให้ข่าวว่าพวกเขากำลังพิจารณาขอถอนตัวจากการเป็นสมาชิก ฟีฟ่า และอาจลุกลามไปถึงการหารือกับชาติสมาชิกกว่า 55 ประเทศเลยทีเดียว

หลายคนอาจสงสัยว่าก็แค่เรื่องปลอกแขน ทำไมเยอรมัน จึงดูเป็นเดือดเป็นร้อนกับเรื่องนี้มากมายนัก ซึ่งก็อย่างทีได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นประเทศของพวกเขายืนหยัดเพื่อสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ และมอบสิ่งนี้ให้กับประชาชนของพวกเขาทุกคน

ในประเทศเยอรมันเรื่องสิทธิและเสรีภาพถูกตั้งเป็นกฎหมายด้วย โดย สิทธิที่สำคัญที่สุดของพวกเขามีมากมายหลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น

Photo :VOX

1. เกียรติแห่งมนุษยชาติ: ทุกคนจะต้องเคารพและให้เกียรติกันและกัน

2. ความเท่าเทียมกัน: ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน เช่น ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน

3. ความเท่าเทียมในการรับผลทางกฎหมาย: กฎหมายมีผลต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

4. สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ: ทุกคนมีสิทธิที่จะพูดในสิ่งที่ตนคิด เสรีภาพในการชุมนุม : ทุกคนมีสิทธิตั้งกลุ่มชุมนุมกัน

5. ความมีอิสระ: ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตและอยู่อาศัย ณ ที่ใดก็ได้ที่ตนต้องการ

5. สิทธิในการประกอบอาชีพ: ทุกคนมีสิทธิเลือกอาชีพของตน

สิทธิอื่น ๆ ได้แก่ การคุ้มครองสถาบันการแต่งงานและครอบครัว สิทธิในการเลือกตั้ง และเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น

ดังนั้นแค่การห้ามใส่ปลอกแขนก็รุนเเรงเหมือนกับการิดรอนสิทธิและเสรีภาพของชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขายึดถือกันมาอย่างยาวนาน และการโดนคัดค้านแบบไม่สมเหตุสมผล (ในมุมมองของพวกเขา) คือเรื่องที่พวกเขาไม่สามารถยอมรับได้ และเรื่องนี้จะต้องถูกจัดการให้เรียบร้อย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง... นี่ไม่ใช่แค่เรื่องฟุตบอล แต่มันคือเรื่องของการใช้ชีวิตที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ

และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ภาพปิดปาก ที่เป็นกระแสก่อนเกมกับ ญี่ปุ่น ที่เพิ่งจบลงไปนี้ นั่นเอง

แหล่งอ้างอิง

สิทธิเบื้องต้นและชีวิตในสาธารณะ - สิทธิเบื้องต้นและชีวิตในสาธารณะ - Mein Weg nach Deutschland - Goethe-Institut

https://talksport.com/football/1254236/german-fa-fifa-cas-onelove-armband/?fbclid=IwAR2Qw_zXMcqg5xi-1Ef81TjbKl1Sb8v4xMLqLfqFS2xDAUoxBHRkcT5ojPk

https://theathletic.com/3926702/2022/11/23/denmark-uefa-fifa-withdraw/?source=twitteruk&fbclid=IwAR0BsQSfdHjunsy0b4cfC0a8gZhKOBb82WPzJZa0MZ7Am326rIJBRDalBEE

https://www.mirror.co.uk/sport/football/news/germany-protest-world-cup-qatar-28564468?fbclid=IwAR0qOOuiKM8JjXYivabwRCluutUYVV0lcuUTbPl_QBzUyOcEPLBUVthUGCo

แชร์บทความนี้
หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ