บิ๊กป้อม ซัด บิ๊กอ๊อด : ย้อนเหตุการณ์ที่ชาติอื่น ๆ โดน ฟีฟ่า แบน... ไทยเข้าเค้าไหม ?
การเปิดเผยว่าพร้อมลาออกของ พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง กลายเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมฟุตบอลไทยตื่นตัวโดยก่อนหน้านี้มีการพูดคุยกันว่าการที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้เร้าให้ บิ๊กอ๊อด ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งปลายทางของเรื่อง บิ๊กอ๊อด ก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้จริง ๆ
แน่นอนว่าลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "ห้ามการเมืองแทรกแทรงฟุตบอล" ไม่เช่นนั้นจะถูกฟีฟ่า แบน และจากกรณีที่ สมยศ ลาออกเพราะการกดดันของ พล.อ.ประวิตร มีสิทธิ์ที่ไทยจะถูกแบนหรือไม่ ?
ไทยจะโดน ฟีฟ่า แบนไหม ?
ว่ากันตามกฎหลัก ๆ แล้วกฎของฟีฟ่า มีอยู่ว่า การบริหารกิจการของสมาคมหรือสหพันธ์ต้องเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม ว่ากันตามข้อนี้ เรียกว่าเข้าตำราตามกฎของฟีฟ่าเต็ม ๆ หาก พล.ต.อ.สมยศ ลาออกจากเหตุการณ์นี้จริง ๆ
ไม่ว่าพล.อ.ประวิตร จะพูดในฐานะนักการเมืองหรือผู้บริหาร IOC แต่ในมุมมองของ ฟีฟ่า หากว่าตามกฎ พล.อ.ประวิตร ถือเป็นบุคคลที่ 3 ขัดต่อสิ่งที่วางไว้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะต้องเข้าสู่กระบวนการสอบสวนจาก ฟีฟ่า อีกครั้ง หาก ฟีฟ่า สอบสวน พล.ต.อ.สมยศ และมีการรายงานจากฝั่ง พล.ต.อ.สมยศ ไปในทิศทางที่ตรงตามกฎของ ฟีฟ่า ไทยก็มีโอกาสจะโดนแบนสูงเลยทีเดียว
เทียบกับเหตุการณ์ในอดีต
มีหลายกรณีที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการจัดการการบริหารของสมาคมฟุตบอล ใกล้ตัวเราที่สุดคือในปี 2015 ที่ อินโดนีเซีย โดน ฟีฟ่า แบน เนื่องจากโดนแทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่า ไม่ได้แบน อินโดนีเซีย ในทันที พวกเขาให้โอกาสทางอินโดนีเซียได้เตรียมข้อมูลแจกแจงรายละเอียดสำคัญ ๆ เพื่อมาแก้ต่างการโดนแบนครั้งนี้ แต่สุดท้ายข้อมูลที่ทางอินโดนีเซีย เตรียมให้กับ ฟีฟ่า นั้นไม่ชัดเจน จนทำให้สุุดท้าย ฟีฟ่า สั่งแบน อินโดนีเซีย และสูญเสียสถานะสมาชิกฟีฟ่า เป็นการชั่วคราว
นอกจากชาติอาเซียนใกล้ตัวแล้ว ยังมีอีหลายชาติที่มีเหตุการณ์คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งปลายทางของการตัดสินของ ฟีฟ่า ก็มีทั้งรอดและไม่รอด ยกตัวอย่างกรณีของ อิรัก ในปี 2008 ที่ รัฐบาลอิรักแทรกแซงสมาคมฟุตบอลจนต้อง ฟีฟ่า ต้องแบนชั่วคราว แต่ถึงอย่างนั้นฝั่งสมาคมฟุตบอล อิรัก ก็ได้เตรียมข้อมูลมาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ซึ่งทำให้ที่สุดแล้ว ฟีฟ่า ในยุค เซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ ต้องประกาศปลดแบน อิรัก ภายในเวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง
เช่นเดียวกับ อินเดีย ที่โดนแบนในปี 2022 ที่ผ่านมา พวกเขาก็โดนแบนเพราะผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย ได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับสมาคมกีฬาต่าง ๆ และกฎหมายดังกล่าวเป็นไปในทิศทางของการบีบให้สมาคมต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่เช่นนั้นจะมีโทษตามมา ... ซึ่งเรื่องดังกล่าวผิดกฎฟีฟ่า เต็ม ๆ แต่สุดท้ายหลังจากโดนกระแสประชาชนในประเทศกดดัน รัฐบาลอินเดีย ก็ยืนยันว่าพวกเขาจะยกเลิกกฎหมายนี้และจะไม่แทรกแซงอีกต่อไป ... เมื่อเป็นเช่นนั้น ฟีฟ่า ก็ปลดแบนให้ อินเดีย ภายในเวลา 11 วันเท่านั้น
ยังมีอีกหลายประเทศที่โดนในลักษณะคล้ายๆ แบบนี้ นั่นคือ เกิดเหตุไม่ชอบมาพากลจนฟีฟ่า ต้องลงมาสอบสวน นอกจาก อินโดนีเซีย และ อิรัก ที่กล่าวมา ยังมีทั้ง บรูไน,ปากีสถาน,อินเดีย,เบนิน และ ไนจีเรีย เป็นต้น
สรุปเรื่องทั้งหมด
สุดท้ายแล้วกฎของฟีฟ่า ก็คือกฎหากว่ากันตามกฎ ไทย จะต้องโดนแบนแน่หาก ฟีฟ่า ว่ากันตามกฎทุกตัวอักษร อย่างไรก็ตามใช้ว่า ไทย จะไม่มีสิทธิ์รอด ... การโดนแบนอาจจะเป็นการแบนระยะสั้น ๆ ไม่กี่วันเท่านั้น หากสมาคมฟุตบอลไทยสามารถแจงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ว่าไม่ได้เป็นการแทรกแซงของบุคคลที่ 3 โดยตรง ซึ่งถ้าข้อมูลและหลักฐานที่เตรียมมามีน้ำหนักพอ ไทย ก็จะได้รับการปลดแบน เหมือนกับที่ทาง อิรัก และ อินเดีย โดนแบนในระยะสั้น ๆ เป็นต้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
'วินเนอร์-ชโนทัย' : ฮีโร่ทัพช้างศึกยู-17 รอรับไม้ต่อ ศุภณัฏฐ์ ในค่าย บุรีรัมย์
ยุคนั้นมีใครบ้าง : ตามหาเเข้งไทยยู-17 ที่ไปเล่นบอลโลก 1999
Outside In : ฟุตบอลโลก U17 1999 ทัวร์นาเมนต์ล่าสุดที่ไทยไปโชว์ฝีเท้าในระดับโลก
แหล่งอ้างอิง
https://www.aljazeera.com/sports/2008/5/29/fifa-lift-iraq-ban
https://www.thejakartapost.com/news/2015/05/31/indonesia-hit-fifa-ban.html
https://theathletic.com/3527926/2022/08/24/india-fifa-ban-why/