เปิดประตูโลกใต้ดิน : ทำไมอาชญากรถึงใช้สโมสรฟุตบอลเป็นแหล่ง "ฟอกเงิน" ?

เปิดประตูโลกใต้ดิน : ทำไมอาชญากรถึงใช้สโมสรฟุตบอลเป็นแหล่ง "ฟอกเงิน" ?
มฤคย์ ตันนิยม

“อาชญากรมองว่าฟุตบอลเป็นช่องทางที่สมบูรณ์แบบในการฟอกเงิน” คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือ FATF กล่าว

ในยุคปัจจุบัน สโมสรฟุตบอลได้กลายเป็นองค์กรธุรกิจเต็มตัว จากการที่มีเงินจำนวนมหาศาล ทั้งจากสปอนเซอร์ ไปจนถึงลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ไหลเวียน ตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อย ไปจนถึงหลักพันล้านในทุกปี

ทว่า สิ่งนี้ก็ได้กลายเป็นช่องว่าง ที่ทำให้เหล่าอาชญากร กระโดดเข้ามาร่วมในธุรกิจนี้ โดยมีเป้าหมายในการเล่นแร่แปรธาตุ เปลี่ยนเงินสกปรก ให้เป็นเงินสะอาด หรือที่เรียกกันว่า “ฟอกเงิน”

พวกเขาทำอย่างไร ติดตามไปพร้อมกับ Think Curve - คิดไซด์โค้ง ได้ที่นี่

ช่องโหว่ทางการเงิน

แม้ว่าจุดประสงค์เริ่มแรกของสโมสรฟุตบอล จะเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อเล่นกีฬาหรือเพื่อความบันเทิง แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิตของใครหลายคน หรือเป็นบ้าน ไปจนถึงลัทธิ ที่พวกเขารักและผูกพันมาหลายสิบปี

ทว่า ในยุคหลังสถาบันแห่งนี้ได้กลายเป็นเป้าหมายของอาชญากร ทั้งในแง่การเป็นกีฬายอดนิยม และเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาล ทั้งในอุตสาหกรรมฟุตบอล และการพนัน

จากการรายงานของ Malta Today เมื่อปี 2020 ระบุว่าตลาดของการพนันทั่วโลก มีมูลค่าอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านยูโร (ราว 65 ล้านล้านบาท) โดยมาจากฟุตบอล 895,000 ล้านยูโร หรือกว่า 34 ล้านล้านบาท

“อาชญากรมองว่าฟุตบอลเป็นช่องทางที่สมบูรณ์แบบในการฟอกเงิน” คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือ FATF กล่าว

ลำพูน จะเป็นอย่างไรต่อ หลังจาก ”บอสตาล” ถูกดำเนินคดี ?
หลังจาก “บอสตาล” พงษ์ศิริ ฐาราชวงศ์ศึก ถูกศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) จับกุมตัวในข้อหาร่วมกันจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าเล่นการพนัน รวมถึงยังกระทำความผิดฐานฟอกเงิ

ส่วนวิธีการก็คือเครือข่ายอาชญากร ที่มักมาจากจีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือรัสเซีย  จะมองหาสโมสรฟุตบอลขนาดเล็ก หรืออยู่ในลีกล่าง ที่มีปัญหาทางการเงิน แล้วเข้าไปเทคโอเวอร์ เพื่อมีอำนาจในการควบคุมสโมสร

จากนั้นก็ปั๊มเงินผิดกฏหมายเข้าไปผ่านโครงสร้างของสโมสร ทั้งวิธีบริจาคแบบให้เปล่า หรือไม่ก็ในเชิงการลงทุน เพื่อฟอกเงินดำเหล่านั้น ให้กลายเป็นเงินสะอาด

บางครั้งพวกเขาอาจจะใช้วิธีผสมเงินสกปรกเข้ากับเงินสะอาด ทั้งเพิ่มเงินเดือนเจ้าหน้าที่และผู้เล่นแบบก้าวกระโดด, ซื้อผู้เล่นด้วยมูลค่าที่เกินความเป็นจริง หรือ จ่ายเงินกินเปล่าให้กับเอเยนต์

Photo :AFP

นอกจากนี้ พวกเขายังมีวิธีใช้เงินผิดกฎหมายโดยใช้สโมสรเป็นตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้สโมสร, ทำกิจกรรมสนับสนุนชุมชน ไปจนถึงให้สโมสรยืมเงิน

“เครือข่ายอาชญากรพวกนี้ มักจะเป็น ‘ตัวขับเคลื่อน’ เบื้องหลังการทุจริตในวงการกีฬา และมักจะใช้กิจกรรมที่ผิดกฎหมายนี้เพื่อฟอกทรัพย์สินที่ได้มาอย่างผิดกฏหมาย” สำนักงานตำรวจยุโรปหรือ ยูโรโปล กล่าว

อย่างไรก็ดี ทั้งที่อาชญากรเหล่านี้เป็นพวกนอกกฏหมาย แล้วทำไมพวกเขาจึงซื้อสโมสรได้

กองทรัสต์บังหน้า

อันที่จริงการใช้สโมสรฟุตบอลเพื่อฟอกเงินไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในอดีต เหล่าพ่อค้ายาเสพติด โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ก็เคยทำมาก่อน เพราะนี่คือช่องทางการระบายเงินมหาศาลที่ง่ายและปลอดภัยที่สุด

ไม่ว่าจะเป็น พาโบล เอสโคบาร์ “เจ้าพ่อโคเคน” ของโคลอมเบีย ที่ซื้อ แอตเลติโก นาซิอองนาล และอัดฉีดเงินมหาศาลจนทำให้ทีมคว้าแชมป์อเมริกาใต้ หรือโคปา ลิเบอร์ตาโดเรส คัพในปี 1989 มาแล้ว

หรือแก๊งกาลี คู่ปรับคนสำคัญของเอสโคบาร์ ที่นำโดยพี่น้องโรดริเกซ ที่เป็นผู้สนับสนุน อเมริกา เด กาลี จนกลายเป็นมหาอำนาจของโคลอมเบีย ด้วยตำแหน่งแชมป์ลีก 5 สมัย

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการที่อาชญากรหรือพ่อค้ายาเสพติดจะเข้ามาครอบครองทีมฟุตบอล อาจจะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากองค์กรฟุตบอลในหลายประเทศ โดยเฉพาะอังกฤษ ห้ามไม่ให้คนที่มีคดีอาญาที่ยังไม่ได้รับโทษมากกว่า 12 เดือน เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอล…แต่ใช่ว่าพวกเขาจะไม่มีวิธี

จากการสืบสวนของนักข่าว Al Jazeera ที่ปลอมตัวเป็นนายหน้าของอาชญากรที่สนใจจะซื้อสโมสร ดาร์บี เคาท์ตี้ ในอังกฤษพบว่า คนกลาง คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ อาชญากร สามารถเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลได้อย่างแนบเนียน

หนึ่งในตัวพ่อของวงการก็คือ คริสโตเฟอร์ เอ็มนานูเอลสัน เขาคือ
ผู้จัดการกองทุนทรัสต์ หรือการลงทุนบนพื้นฐานความเชื่อใจ ที่ผู้ลงทุนมอบอำนาจในการจัดการทรัพย์สินเพื่อนำไปลงทุนให้ได้กำไรแล้วนำผลประโยชน์จากกองทรัสต์ มามอบให้ผู้รับผลประโยชน์ต่อไป และตัวเขาเองก็ใช้สิ่งนี้ในการปกปิดแหล่งเงินทุนผิดกฎหมาย

“ซามูเอลสัน คือคนที่สามารถทำให้ช้างหายไปได้” อาเดรียน กัตตอน นักวิเคราะห์การเงินบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ อธิบาย

เขาใช้วิธีให้อาชญากรก่อตั้งกองทุนทรัสต์ ในต่างประเทศ และให้นักลงทุนรายย่อยสองคนเป็นคน “ออกหน้า” ในการซื้อดาร์บี้แทน โดยระบุว่าพวกเขาคือผู้ถือหุ้นในกองทุนทรัสต์ และทำให้ตัวตนของอาชญากรไม่ถูกเปิดเผย

เอ็มมานูเอลสัน / Photo : Al Jazeera

จากการรายงานของ Al Jazeera ระบุว่า ซามูเอลสัน มีบทบาทในการช่วยให้เกิดดีลซื้อ เรดดิ้ง เอฟซี และแอสตัน วิลลา ในปี 2012 และ 2016 ในช่วงที่พวกเขามีปัญหาทางการเงิน

นอกจากตัวเขาเอง ซามูเอลสัน ยังมี คีธ ฮันเตอร์ เป็นเพื่อนร่วมทีมคนสำคัญ เขาคือนักสืบเอกชนและอดีตตำรวจของสก็อตแลนด์ยาร์ด ผู้รู้เบื้องลึกเบื้องหลังในวงการนี้เป็นอย่างดี

“เรากำลังตรวจสอบว่าฟุตบอลลีกกำลังพูดอะไรอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นพวกเขาไม่รู้เรื่องนี้แน่นอน”  ซามูเอลสันกล่าวกับ Al Jazeera

นอกจากนี้ พวกเขายังใช้วิธีสร้างตัวตนของอาชญากรขึ้นมาใหม่ เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ด้วยการเป็นพลเมืองของไซปรัส ผ่านโครงการพาสสปอร์ตเพื่อการลงทุน

“เราทำสำเร็จมาหลายครั้ง หลายครั้งมาก ๆ ผมสามารถรับรองได้ว่าคุณอยู่ในสถานะที่แย่กว่าเจ้านายคุณเสียอีก” ฮันเตอร์กล่าวกับ Al Jazeera

ก่อนที่เรื่องดังกล่าวจะถูกเปิดโปงออกมาในปี 2020 ที่นำไปสู่การลาออกของข้าราชการระดับสูงของไซปรัส รวมถึงการยกเลิกโครงการหนังสือเดินทางเพื่อการลงทุน

ส่วนการซื้อขายดาร์บี้ ก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลยนับตั้งแต่ตอนนั้น

สู่อาชญากรรมอื่น

การใช้สโมสรฟุตบอลเพื่อฟอกเงินของอาชญากร เป็นปัญหาที่ทั่วโลกเผชิญร่วมกัน ในปี 2016 อเล็กซานเดร โทลสติคอฟ ประธานสโมสรชาวรัสเซีย อูดี เลเรีย ในดิวิชั่น 3 ของ โปรตุเกส ถูกกล่าวหาว่าใช้สโมสรฟอกเงิน

อันโตนิโอ ซินตรา หัวหน้าฝ่ายสืบสวนคดีอาชญากรรมเลเรียระบุว่า เขาถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงภาษี, ตั้งแก๊งอาชญากร, ฟอกเงิน, ทุจริต และปลอมแปลงเอกสาร

“เครือข่ายรัสเซีย จะใช้คนออกหน้า สำหรับเครือข่ายที่คลุมเครือและซับซ้อนของโฮลดิ้งคอมพานี (บริษัทที่มีรายได้จากการถือหุ้น) ซึ่งมีบริษัทบังหน้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศเพื่อเลี่ยงภาษีเป็นเจ้าของอีกที” ยูโรโปล กล่าว

Photo : UD Leiria

อย่างไรก็ดี มันไม่ใช่ปัญหาการฟอกเงินท่านั้น แต่การล็อคผลบอล ก็เป็นอีกหนึ่งผลพวงที่ตามมา จากการที่อาชญากร มีสโมสรฟุตบอลมากมายอยู่ในครอบครอง

เพราะยิ่งพวกเขามีสโมสรอยู่ในมือเท่าไร ก็ยิ่งสามารถทำอะไรได้สะดวกขึ้น แถมไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร หรือหากเทียบให้เห็นภาพอาจจะเหมือนเราเล่นเกม Football Manager แล้วคุม 5 ทีมในลีกเดียวกัน เป็นต้น

7 ปีในญี่ปุ่นของ ชนาธิป บอกอะไรกับวลี ”บอลไทยไปบอลโลก” | Think Curve - คิดไซด์โค้ง
ชนาธิป สรงกระสิทธ์ สตาร์เบอร์ 1 ของวงการฟุตบอลไทยจะกลับมาค้าแข้งในศึกไทยลีกอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ 7 ปีที่ญี่ปุ่นของชนาธิป ได้ร้อยเรียงความหมายบางอย่างซ่อนอยู่มากมาย ถ้าเราฝันจะไปฟุตบอลโลกเราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ในเจลีกของชนาธิปได้... ในแต่ละตอนของ ชนาธิป บอกอะไรกับเราบ้าง ? จุ

“ครั้งหนึ่ง หลายสโมสรต่างอยู่ภายใต้การควบคุมของมาเฟียรัสเซีย ซึ่งมีขอบเขตการทำธุรกรรมทางการเงินที่กว้างมาก และทำให้เกิดเงินไหลเวียนข้ามพรมแดน กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้สโมสรถูกใช้ฟอกเงินสกปรกและกิจกรรมเพื่อการพนัน” ยูโรโปลอธิบาย

ก็ต้องมาดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร เพราะอย่างที่เห็นแม้จะมีกฎที่เข้มงวด แต่เหล่าอาชญากรก็พยายามปรับตัว และหาช่องโหว่เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยเม็ดเงินมหาศาลนี้

แหล่งอ้างอิง

https://edition.cnn.com/2016/05/04/europe/portugal-russian-mafia-allegations/index.html

https://www.aljazeera.com/news/2021/8/9/investigation-reveals-football-used-to-launder-money-men-who-sell-football

https://www.maltatoday.com.mt/sports/football/104619/football_is_money_laundering_paradise_for_organised_crime_groups

https://bylinetimes.com/2019/04/02/football-money-laundering-a-beginners-guide/

https://tribuna.com/en/news/2020-07-28-moneylaundering-drug-cartels-ticket-touting-5-instances-when-football-merged-with-organiz/

https://www.reuters.com/article/idINIndia-40735720090701

https://edition.cnn.com/2016/05/04/europe/portugal-russian-mafia-allegations/index.html

แชร์บทความนี้
ลีดส์ ยูไนเต็ด, ญี่ปุ่น, มังงะ
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ