Inverted Wing Back : ตำแหน่งที่ทำให้ ธีราทร เล่นกองกลางได้เนียนตา
ในโลกของฟุคบอลนั้น เรื่องของเเท็คติกวิธีการเล่นนั้นไม่เคยหยุดอยู่กับที่ ผู้คนมักจะคิดค้นเเท็คติกใหม่ๆเอามาใช้เล่นงานคู่เเข่งอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงบทบาทใหม่ๆของผู้เล่น
เราเคยเห็นการเปลี่ยนสไตล์จากกองหน้าตัวเป้าธรรมชาติสู่กองหน้าตัวหลอก (False nine) หรือจากปีกที่เน้นครอสบอลเป็นหลักสู่ปีกที่เน้นการทำประตู หรือที่เราเรียกกันว่ากองหน้ากึ่งปีก (Inside Forward) จนในที่สุด มาสู่บทบาทใหม่ของผู้เล่นตำเเหน่งฟูลเเบ็ค หรือที่เรา เรียกกันว่า Inverted Wing Back
เเล้วบทบาทนี้ มันเล่นยังไง เเล้วใครเป็นผู้คิดค้นมันขึ้นมา? ติดตามได้ที่ Think Curve - คิดไซด์โค้ง
ผู้คิดค้น Inverted Wing Back
คำว่า Inverted ถ้าแปลตรงๆตัวเเล้ว มันจะแปลว่า การกลับด้าน เเต่พอเอามาใช้โลกของฟุตบอล มันกลับไม่ใช่การกลับด้านเเบบที่เราเข้าใจ
ผู้คนมักจะเข้าใจผิดกันว่า Inverted Wing Back นั้นคือ ผู้เล่นฟูลเเบ็คที่ลงเล่นในฝั่งตรงข้ามของเท้าข้างที่ถนัดเพื่อตัดเข้ามาข้างในเเล้วทำการเปิดบอล เเต่ไม่ใช่เลย นั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นเเละวิธีการเล่นของพวกเขา เพราะพื้นที่รับผิดชอบของพวกเขาเวลาที่ทีมเล่นเกมรุกจะเป็นบริเวณกลางสนามเสียมากกว่า
Inverted Wing Back ถือเป็นบทบาทใหม่ของฟูลเเบ็คในฟุตบอลยุคปัจจุบัน คนเเรกที่คิดค้นเเละเอาวิธีการเเบบนี้มาใช้ คือ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า เฮดโค้ชชาวสเปน ในสมัยที่เขาคุม บาเยิร์น มิวนิค เพราะเขาต้องการเพิ่มจำนวนผู้เล่นบริเวณกลางสนาม
เราทราบกันดีอยู่เเล้วว่าฟุตบอลของเป๊ปนั้น เน้นไปที่การครองบอลเป็นหลัก เขาเลยเอาไอเดียนี้มาใช้ในการขึ้นเกมของทีม โดยให้ ฟิลลิป ลาห์ม หุบเข้าไปข้างใน เพราะเขาเล็งเห็นศักยภาพในตัวของ ลาห์ม ว่าจะสามารถคุมเกมในเเดนกลางได้ เเละทำให้กองกลางของทีมสามารถเติมเกมรุกเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้สูงขึ้น
คือเวลาเล่นเกมรุกพวกเขาจะขยับเข้าไปข้างใน ทำหน้าที่เหมือนมิดฟิลด์ตัวรับ คอยรับส่งบอล เเละ เคลื่อนที่ซัพพอร์ทเพื่อนๆ บริเวณกลางสนาม เพื่อที่จะได้มีจำนวนผู้เล่นมากกว่าฝ่ายตรงข้ามบริเวณกลางสนาม เเละสร้างสถานการณ์ดวล 1-1 ให้ปีก ในบริเวณพื้นที่ด้านกว้างของสนาม
การทำเเบบนี้ มันคือ การรบกวนวิธีการตั้งรับของฝ่ายตรงข้ามที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะเมื่อวิงเเบ็คหุบเข้าไปเล่นข้างใน ถ้าผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามไม่ตามเข้ามาประกบ จะทำให้พวกเขาสามารถรับส่งบอลได้อย่างสบายๆ บริเวณกลางสนามเพราะทีมมีจำนวนผู้เล่นมากกว่าในบริเวณนี้
เเต่ถ้าโดนตามเข้ามาประกบจะทำให้พื้นที่ด้านข้างของสนามนั้นเปิดออก ปีกสามารถมารับบอล เเละ สร้างสถานการณ์ดวล 1-1 ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการเอาชนะกองหลังฝ่ายตรงข้ามได้
ส่วนเวลาที่ทีมต้องตั้งรับพวกเขาก็จะกลับมาประจำการในตำเเหน่งฟูลเเบ็คเเบปกตินั้นเเหละ ทำให้ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสูตรนี้คือ ฟูลเเบ็คจะไม่เสียเวลาเเละพละกำลังในการกลับมาประจำการที่ตำเเหน่งเดิม เวลาที่ทีมต้องตั้งรับ เพราะระยะทางเเละพื้นที่การวิ่งนั้นไม่ห่างจากตำเเหน่งเดิมเท่าไหร่
ถ้าจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เวลาที่ทีมเล่นเกมรุกพวกเขาจะทำหน้าที่เหมือนกองกลางตัวรับ เเต่พอเมื่อไหร่ที่ทีมต้องตั้งรับพวกเขาจะกลับไปประจำการในตำเเหน่งฟูลเเบ็คทางด้านข้าง
พอวิธีการเล่นเปลี่ยนไปเเตกต่างไปจากฟูลเเบ็คยุคก่อนๆ ทำให้ทักษะที่สำคัญที่เหมาะในการจะเล่นตำเเหน่งนี้นั้นเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
ทักษะที่สำคัญสำหรับตำเเหน่งนี้
โดยปกติเเล้ว ในสมัยก่อน ผู้เล่นในตำเเหน่ง ฟูลเเบ็ค จะประจำการอยู่ทางด้านข้างของสนามเเละเน้นวิ่งขึ้นสุดลงสุด ในทางด้านกว้างของสนาม ทำให้ความสามารถที่เหมาะกับผู้เล่นเเบบ ฟูลเเบ็คธรรมชาติ จะเป็นเรื่องของพละกำลัง การเล่นเกมรับ เเละการครอสบอล
เเต่พอปรับเปลี่ยนมาเป็น Inverted Wing Back ทำให้การทำงานของพวกเปลี่ยนไป เเละ อาศัยทักษะที่ต่างออกไปอีกเช่นกัน เพราะการหุบเข้าไปข้างในนั้น ต้องอาศัยทักษะการเล่นกับลูกบอลที่ยอดเยี่ยมคล้ายๆกองกลางอีกคนหนึ่งของทีม
เเละพอเข้ามาเล่นในบริเวณกลางสนาม ทำให้ทักษะที่จำเป็นมากๆในตำเเหน่งนี้อีกอย่างหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการจ่ายบอลที่เเม่นยำ สามารถจ่ายบอลไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างที่รู้ๆกันว่า หน้าที่กองกลางในฟุตบอลนั้นคือการสร้างสรรค์เเละรักษาสมดุลของเกม เพราะฉะนั้นการหุบเข้าไปเล่นตรงกลาง ทักษะการจ่ายบอลไปข้างหน้าถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆสำหรับฟูลเเบ็คที่จะเล่นเเบบนี้ สามารถจ่ายบอลเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้อย่างเเม่นยำ
นอกจากการจ่ายบอลเเล้วอีกสิ่งที่สำคัญคือ ความเข้าใจเกม สามารถเคลื่อนที่ซัพพอร์ทเพื่อนได้อย่างถูกจังหวะ เเละ สามารถทำการตัดฟาลว์ได้อย่างชาญฉลาดเมื่อตัวเองไม่อยู่ในตำเเหน่งเวลาเล่นเกมรับ
เพราะเมื่อเวลาที่ทีมเสียการครองบอลพื้นที่ด้านข้างตรงตำเเหน่งฟูลเเบ็คจะกลายเป็นจุดอ่อนเเละช่องโหว่ให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีใส่ได้ทันที เราจึงมักจะเห็นผู้เล่นในเเดนกลางของ เเมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในยุคของเป๊ป กวาร์ดิโอล่า ที่ใช้วิธีการเล่นเเบบนี้ ตัดฟาวล์ฉลาดๆ หลายๆครั้งในขณะที่ทีมเสียการครองบอล
ในเมื่อสองทักษะนี้คือสิ่งสำคัญ ทำให้เรามักจะเห็นผู้จัดการทีมหลายๆคน เปลี่ยนเอาผู้เล่นที่เคยเล่นตำเเหน่งกองกลาง หรือผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูง มาใช้งานในตำเเหน่งนี้ เพราะพวกเขาต้องการนักเตะที่มีความเข้าใจเกมที่สูงมากกว่าฟูลเเบ็คเเบบปกติ สามารถเคลื่อนที่เข้าไปซัพพอร์ทเพื่อนในบริเวณกลางสนามได้เวลาที่ทีมเล่นเกมรุก เสมือนว่าเป็นกองกลางอีกคนหนึ่งของทีม เเละเวลาที่ทีมต้องรับ พวกเขาสามารถกลับไปประจำการที่ตำเเหน่งเดิมอย่างทันท่วงที ถ้าดูเเล้วจะกลับไม่ทัน ต้องรีบตัดฟาวล์เพื่อทำการหยุดเกม
เเต่ในกรณี ของ ธีราทร บุญมาทัน เเบ็คซ้ายตัวเก่งของทีมชาติไทย นั้นเเตกต่างออกไปนิดหนึ่ง เพราะเขาเล่น Inverted Wing Back ก่อนที่จะเปลี่ยนตำเเหน่งไปเล่นกองกลางอย่างเต็มตัว
จุดเปลี่ยนอยู่ที่ญี่ปุ่น
คงไม่มีใครกล้าคัดค้าน ถ้าจะบอกว่า ธีรทร บุญมาทัน คือ หนึ่งในนักเตะที่ดีที่สุดของทีมชาติไทยในยุคปัจจุบัน เขาคว้าเเชมป์ไทยลีกมามากมายหลายครั้ง เเละเคยไปค้าเเข้งในลีกที่ดีที่สุดของเอเชียอย่าง เจ ลีก ในญี่ปุ่นมาเเล้ว
การไปเล่นที่ญี่ปุ่นกับทีม โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ทำให้เขาเจอจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เพราะที่นี่คือที่เเรกที่เขาได้ลองเล่นในบทบาทของ Inverted Wing Back เป็นครั้งเเรก
จากปกติก่อนที่จะไปญี่ปุ่นนั้น ธีราทร จะเล่นด้านข้าง เติมเกมไปตามริมเส้น เเละอาศัยการครอสบอลเข้าไปให้ตัวรุกของทีมเหมือนฟูลเเบ็คทั่วๆไป เเต่ที่ญี่ปุ่น เขาได้ลองเล่นในบทบาทใหม่ คือ ประจำการในตำเเหน่งเดิมนี่เเหละ เเต่เวลาขึ้นเกมจะหุบเข้าไปข้างในเเละทำงานในลักษณะที่เรียกว่า เป็นห้องเครื่องของทีม เสียมากกว่า
เเละ ธีรทร ทำมันออกมาได้อย่างสมบูรณ์เเบบเเละเล่นได้อย่างเนียนกริบ จนมีส่วนสำคัญในการพาทีมเป็นเเชมป์ลีกของญี่ปุ่นในบั้นปลาย
ที่ ธีรทร สามารถทำได้ดี ก็เพราะว่า เขานั้น ผ่านการเล่นฟุตบอลในระดับสูงมาหลายปี สะสมประสบการณ์ มากมาย จนมีความเก๋าเเละความเข้าใจเกมในระดับที่สูง ทำให้การเข้าไปเล่นตรงกลางไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
เลยเป็นเหตุผลที่ผู้จัดการทีมหลายๆคน เปลี่ยนตำเเหน่งให้เขาไปเล่นเป็นกองกลาง ในช่วงที่เขากลับมาค้าเเข้งที่ไทยลีกอีกครั้ง เพราะความเข้าใจเกมเเละเซนส์บอลของธีราทรนั้น ยอดเยี่ยมกว่านักเตะไทยทั่วๆไปเเล้ว
ทำให้เขากลายเป็นห้องเครื่องคนสำคัญของสโมสรเเละทีมชาติ โดยที่ในครึ่งซีซั่นเเรกของไทยลีก ธีราทรลงเล่นไป 15 นัด โดยที่มีถึง 11 นัดที่เขาลงทำหน้าที่ในตำเเหน่งกองกลาง ทำไป 1 ประตู เเละ 2 แอสซิสต์
ส่วนกับทีมชาติในศึกชิงเเชมป์ของอาเซียน ธีราทร ที่ลงเล่นในตำเเหน่งกองกลางกลายเป็นคนหนึ่งที่โดดเด่นที่สุดของทีมชุดนี้ เพราะหลังจากผ่านไป 3 เกม เขาคือคนที่วิ่งเยอะที่สุดในการเเข่งขันครั้งนี้ เเละ แอสซิสต์ให้เพื่อนไปอีก 3 ประตู จากการสร้างโอกาสในการทำประตูทั้งหมด 17 ครั้ง ความเข้าใจเกมเเละการวิ่งไม่มีหมดของเขา คือสองสิ่งที่ทำให้เขาเหนือกว่านักเตะอาเซียนทั่วๆไปอยู่ก้าวหนึ่งเสมอ
เรียกได้ว่า ธีรทร นั้น เป็นศูนย์กลางที่คอยรักษาสมดุลให้กับน้องๆในทีมเลยก็ว่าได้ เพราะ การไปเล่นที่ญี่ปุ่นมา ในตำเเหน่ง Inverted Wing Back มันคล้ายๆการขัดเกลาธีราทรในตำเเหน่งกองกลางไปในตัว ทำให้ฝีเท้าเเละความเข้าใจเกมของเขานั้นไปไกลกว่านักเตะระดับอาเซียนทั่วๆไปทั้งในไทยลีก เเละ ประเทศอื่นๆ ทำให้เขาสามารถปรับตัวเเละเล่นในตำเเหน่งกองกลางในฟุตบอลระดับนี้ได้อย่างสมบูรณ์เเบบ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
1.ไกด์บุ๊คฉบับสมบูรณ์ : AFF มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คัพ 2022 แต่ละชาติเน้นกันเบอร์ไหน ?
2.โมเดิร์นกัมพูชา : ‘ฮอนดะสไตล์’ การสอนให้นักเตะ วิ่ง บู๊ และกินอยู่แบบมืออาชีพ
3.กรณีศึกษาจากต่างประเทศ : ไทยควรจัดการกับแฟนบอลจุดพลุแฟร์ในสนามอย่างไร ?
แหล่งอ้างอิง
https://www.transfermarkt.com/theerathon-bunmathan/leistungsdaten/spieler/159950