นอกจากได้ใจ : คนที่จ่าย "เงินอัดฉีด" ให้ทีมชาติไทยได้อะไรกลับมาบ้าง ?

นอกจากได้ใจ : คนที่จ่าย "เงินอัดฉีด" ให้ทีมชาติไทยได้อะไรกลับมาบ้าง ?
ชยันธร ใจมูล

ตอนนี้กระแสฟุตบอลทีมชาติไทยกลับมาฟีเวอร์หนักอีกครั้ง ล่าสุดมีข่าวคราวว่าบัตรรีเซล ของเกมที่ไทยจะเจอกับเกาหลีใต้นั้นมีราคาดีดสูงเกิน 10 เท่าจากราคาเดิมไปแล้วในเวลานี้

จากกระแสดังกล่าวทำให้มีเงินสนับสนุนมากมาย นอกจากเงินสนับสนุนหรือเรียกง่าย ๆ ว่า "อัดฉีด" จาก นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมฟุตบอลไทยฯ ป้ายเเดงแล้ว ล่าสุดยังมีเงินอีกจำนวนถึง 9 ล้านบาท จาก เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ที่ประกาศอัดฉีดแต้มละ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว

สิ่งนี้ชวนให้นึกถึงภาพวันเก่า ๆ ที่ทีมชาติไทยเคยมีกระแส และมีคนดังหลายคนนำเงินมาอัดฉีดมากมาย โดยเฉพาะในยุคที่มี "โค้ชซิโก้" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง คุมทีม ยิ่งมีการอัดฉีดจากคนดังและสปอนเซอร์มากมาย

คำถามคือในแง่ของคนที่บริจาคหรืออัดฉีดเงินจำนวนมากขนาดนี้ พวกเขาได้อะไรคืนกลับมาบ้าง ? นอกจากชื่อเสียง กระแส และได้ใจแฟน ๆ รวมถึงนักเตะทีมชาติไทย

คำตอบง่าย ๆ คือ เงินในการอัดฉีดและสนับสนุนทีมกีฬาของประเทศนั้น สามารถนำไปหัดลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า

อ้างอิงจาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรล่าสุดในช่วงเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์

โดยเนื้อหาหลัก ๆ มีดังนี้

กรณีบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนการกีฬา ไม่ว่าจะเป็นในกรณีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสามารถนำจำนวนเงินที่บริจาคหรือทรัพย์สินมาหักลดหย่อนภาษีได้ โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้

ทำไม 'มาดามแป้ง' จึงเป็นตัวแทน 3 ยักษ์ไทยลีกในการชิงเก้าอี้นายกส.บอลไทยฯ ?  | Think Curve - คิดไซด์โค้ง

ในกรณีที่บุคคลธรรมดาบริจาคเป็นเงินอย่างเดียว จะได้สิทธิประโยชน์หักลดหย่อนได้เป็นจำนวน 2 เท่า แต่เมื่อรวมการบริจาคทุกรายการแล้วต้องไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินได้ทั้งหมดที่ได้รับหลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นตามกฎหมายแล้ว

กล่าวโดยสรุป เมื่อบุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทำการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า แห่งประเทศไทย จะเห็นได้ว่านโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านการกีฬามากขึ้น ซึ่งการบริจาคนั้นจะต้องบริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากรเท่านั้น

นอกจากนี้ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าทีเดียว ซึ่งมาตรการนี้ถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ให้และผู้รับเป็นอย่างมาก

แชร์บทความนี้
หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ