'นักเตะ' เจ็บจากเกม 'ทีมชาติ' ใครเป็นฝ่ายชดเชยให้สโมสร?

'นักเตะ' เจ็บจากเกม 'ทีมชาติ' ใครเป็นฝ่ายชดเชยให้สโมสร?
ณัฐพล อ่วมเรืองศรี

ปัญหาระหว่างสโมสรต้นสังกัดกับทีมชาติ เรื่องการปล่อยตัวนักเตะไปติดธง ยังคงเป็นปัญหาสำหรับทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะที่ประเทศไทยที่เดียว ซึ่งเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากแข้งสตาร์ระดับมูลค่า ร้อยล้าน-พันล้าน มักจะเจอปัญหาอาการบาดเจ็บติดตัวกลับมายังสโมสร หลังจบโปรแกรมไปรับใช้ทีมชาติอยู่เป็นประจำ

ซึ่งตัวของสโมสรมองว่า พวกเขาเป็นฝ่ายลงทุนจ่ายค่าเหนื่อย, โบนัส และ เงินค่าตัว จ้างสตาร์เหล่านี้มาล่าความสำเร็จ กลับต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบรักษาดูแล ทั้งที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย แต่กลับต้องเป็นฝ่ายมารับ “จบ” แบบไม่มีทางเลี่ยงได้

PHOTO : FA THAILAND

ดังนั้นในกรณีนี้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า องค์กรลูกหนังระดับโลก จึงได้มีโครงการช่วยเหลือเกี่ยวกับกรณีการจ่ายเงินชดเชยออกมาให้ชัดเจนโดยมีชื่อว่า “ฟีฟ่า คลับ โพรเทคชั่น โปรแกรม” (Fifa Club Protection Programme) ซึ่งเป็นเหมือนทางออกที่ทางสโมสรจะได้รับเงินชดเชย หากนักเตะที่เป็นทรัพย์สินของสโมสรต่างๆ เกิดเจ็บจากเกมทีมชาติขึ้นมาจริงๆ แล้วหวังลดแรงตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีหลายชาติเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมไปถึง “ประเทศไทย”

โดยหลักฐานการขอรับเงินชดเชยจากตัวกลางอย่าง ฟีฟ่า ประกอบไปด้วย ผลตรวจของผู้เล่น, แมตช์รีพอร์ตในวันนั้น, รายละเอียดของอาการบาดเจ็บ และ คลิปวีดีโอจังหวะที่นักเตะได้รับบาดเจ็บ นับเฉพาะเกมอย่างเป็นทางการที่มีการรับรองเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลชิงแชมป์ทวีป หรือ การอุ่นเครื่องระดับ เอ แมตช์

นอกจากนี้ยังมีการระบุเงื่อนไขเอาไว้อย่างชัดเจนว่าครอบคลุมอาการเจ็บอย่างไรบ้าง? ดังต่อไปนี้ 

- เป็นอาการบ่าดเจ็บที่เกิดขึ้นผ่านการเล่นฟุตบอล ต่อร่างกายของผู้เล่น ไม่ว่าจะบาดเจ็บด้วยตนเอง หรือเกิดจากการปะทะกับคู่ต่อสู้ก็ตาม รวมไปถึงอาการที่เกิดจากธรรมชาติ อย่างเช่น กรณีการเกิดฮีทสโตรก และ โรคประจำตัวกำเริบ ระหว่างทำการแข่งขัน

PHOTO : Archysport

- เงินชดเชยจะคิดจากฐานเงินเดือนของนักเตะแต่ละราย หารออกมาเป็นค่าใช้จ่ายรายวัน ยกตัวอย่างเช่น นักเตะทีมชาติไทยรายหนึ่ง มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 6 แสนบาทต่อเดือน จะนำเอา 600,000 บาท นำไปหารกับ 30 (จำนวนวันต่อเดือน) แล้วนำไปคูณกับจำนวนวันที่ต้องพักรักษา แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี

โดยกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศที่เกิดขึ้นจริง คือ เคสของ อิบราฮิม โกเน่ (อัลเมเรีย) และ โจเซฟ ไอดู (เซลต้า บีโก้) ที่เกิดบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปแข่งขันช่วยทีมชาติในเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา เมื่อคิดเบ็ดเสร็จเรื่องจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัวแล้ว ฟีฟ่า ต้องจ่ายถึงเคสละ 7.5 ล้านยูโร หรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 284.6 ล้านบาทเลยทีเดียว


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://dailysports.net/news/fifa-will-pay-compensation-to-two-la-liga-teams-for-injuries-their-players-received-in-national-team/

https://www.facebook.com/FootballAssociationOfThailand/posts/2392164091048718/

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ