บริษัทผู้เชี่ยวชาญ แนะนำวิธีดูแลพื้นสนามราชมังฯ แก้ปัญหาน้ำไม่ระบาย
หลังก่อนหน้านี้ Golf Course Specialists Co., Ltd. บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลพื้นสนามฟุตบอล ได้ออกมาแนะนำเรื่องระบบระบายน้ำในสนามพาร์ตแรก หลังจากเกมอุ่นเครื่องระหว่าง เลสเตอร์ ซิตี้ พบ ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ต้องถูกยกเลิก เพราะฝนตกหนักจนมีน้ำขัง
ล่าสุด บริษัท Golf Course Specialists Co., Ltd. ที่เคยผ่านงานดูแลสนามราชมังฯในเกม “The Match” ระหว่าง ลิเวอร์พูล กับ แมนฯ ยูฯ เมื่อปีที่แล้ว ได้ออกมาแนะนำในพาร์ตที่เหลือ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการดูแลสนามราชมังฯต่อไปในอนาคต โดยมีใจความดังนี้
การยกเลิกการแข่งขันระหว่าง Tottenham Hotspur กับ Leicester ที่ราชมังคลาเมื่อวานเป็นที่ฮือฮาไปทั่ว
ก่อนอื่นต้องขอให้กำลังใจผู้จัด ที่พยายามจัดแมทช์ดีๆ มาให้ดูกัน และทีมงาน Groundkeeper ที่ทำงานกันอย่างหนัก ทั้งการฟื้นฟูสนามหลัง concert 2-3 รายการ., ศึก U17 ที่เพิ่งผ่านไป.. รู้ว่ามันเหนื่อยนะ.. สู้ๆ นะคะ..
ปริมาณน้ำฝนเมื่อวานไม่ใช่น้อย แต่ Ad ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน.. ปกติระบบระบายน้ำที่ทำๆ กันอยู่.. ก็ design มาที่ 50-60 มม. มากกว่านั้นก็ต้องมีน้ำรอระบายอยู่บ้าง ปกติก็จะตั้งเป้าให้ระบายหมดภายใน 1 ชม.. เมื่อวานถ้าเตะ 19:00 น. น่าจะไม่มีปัญหา..
การรีดน้ำ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ช่วยได้ เหมือนอย่างที่บุรีรัมย์ได้ทำเมื่อปีที่แล้วในการแข่งขัน AFC
แต่จริงๆ แล้ว ระบบระบายน้ำใต้ดิน Sub-drain, ความหนาของทราย และคุณภาพทราย เป็นความสำคัญมาก..
พวกเรามักเปรียบเทียบระบบระบายน้ำกับ EPL หรือ J league ก็อยากบอกความแตกต่าง 2-3 ข้อที่ทราบ
1. ความหนาของชั้นทราย league เหล่านั้น จะใช้ 30 ซม. แต่ในไทยส่วนใหญ่หนา 15-20 ซม. ขึ้นกับงบประมาณการสร้าง เพราะค่าทรายที่มีคุณภาพ เป็น 50% ของการสร้างสนาม
2. คุณภาพของทราย ต้องคัดกันแบบละเอียดมาก มี silt (particle size ขนาดต่ำกว่า 0.1 มม.) น้อยกว่า 5% เพราะตัวนี้จะทำให้เกิดการ compact ง่าย และการระบายน้ำลดลง
3. การวางระบบ sub-drain ที่ดี เต็มพื้นที่., ความห่างของแนว sub-drain ของเขาอยู่ที่ 3.5-5 ม..
แต่ทั้งหมดนี้ คนที่จะสร้างสนามจะคิดแค่เพียงน้ำระบายเร็วๆ มากก็ไม่ได้.. เพราะเราจะพบปัญหาว่าน้ำไม่พอในหน้าแล้ง ซึ่งมีผลให้หญ้าได้รับน้ำไม่พออีก.. โดยทั่วไปเราจึงจะ design กันที่ 50-60 มม./ชม.
และเราจะวัดค่าการระบายของน้ำ โดยวัด infiltration rate และ permeability ในชั้นทราย.
หากการสร้าง, วางระบบ sub-drain, เลือกทราย และใส่ทรายมากพอแล้ว สนามจะระบายน้ำได้ดี หากวัดค่า infiltration rate ของสนามที่สร้างอย่างถูกต้อง และเพิ่งสร้างเสร็จ มักจะได้ค่าเกิน 20”/ชม. ซึ่งจะระบายน้ำออกเร็วมาก
แต่เมื่อครั้งที่เตรียมสนามกับ Groundkeeper ของ LFC เขาจะแจ้งว่า เขาต้องการ 16”-18”/ชม. ซึ่งครั้งนั้นที่ราชมังคลาวัดได้ 22” ที่ STB ได้ 24” และที่ Alpine ได้ 16” เขาก็ถามว่า เปลืองน้ำไหม.. เราก็ตอบว่า เปลืองอยู่ แต่ฝนเมืองไทยตกหนักมาก
แต่เมื่อสนามมีอายุมากขึ้น การระบายน้ำจะลดลง เพราะ
1. Compaction พื้นสนามแน่นขึ้น จากการใช้งาน จากนน. รถตัดหญ้า เราจึงจะเห็นภาพการตัดหญ้าใน stadium ของ ทีมใน EPL ที่ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามที่นน. น้อยกว่า การเกิด compaction น้อยกว่า
2. การสะสมของชั้น thatch คือชั้นอินทรีย์วัตถุ เช่น ใบหญ้า ต้นหญ้าที่ตาย ซึ่งพวกนี้จะอุ้มน้ำไว้ และน้ำลงไปในชั้นทราย หรือ rootzone ได้ช้าลงดังนั้นแม้สร้างสนามอย่างดี เรายังต้องพยายามควบคุมปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้สนามระบายน้ำได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอจะทำได้ด้วยการ
1. ตัดหญ้า แล้วต้องเก็บเศษหญ้าออก
2. ทำเขตกรรม เช่นการ verticut, coring และrenovation อย่างที่เห็นในภาพเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนเข้าหน้าฝน วิธีการเหล่านี้จะช่วยกำจัดเศษหญ้า และ แกปัญหาดินแน่นได้
3. ใช้สารบริหารความชื้นช่วย..
แต่ถึงจะทำทั้งหมดนี้ หากฝนตกหนักมาก เป็น 70-80 ซม. ในเวลาสั้นๆ เราก็ยังจะเห็นน้ำขังอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะระบายไป ซึ่งสำหรับการแข่งขันฟุตบอล จะอนุญาตที่ 1 ชม.
และยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่นน้ำด้านนอกท่วมหรือไม่ซึ่งเรื่องนี้คนที่ดูแลสนามจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย..
อ้างอิง : https://www.facebook.com/golfcoursespecialiststhailand/posts/pfbid0sGSpCR4JZCBmWPvuAF656K2VGyNqk43tfwFonPnYB3FxiH6tH1Z4MRGZFftKKzKyl
https://www.facebook.com/golfcoursespecialiststhailand/posts/pfbid0j2KkH8pz9kYPtkCzYFvyQPh1wuvV92vVDjF5iCdPwdrpmCFDdEUKwYouH4C7Zh9Ml