ปล่อยรากตายไม่มีวันได้ผล : ลีกญี่ปุ่นดูแลทีมดิวิชั่นต่ำให้เติบโตอย่างไร ?

ปล่อยรากตายไม่มีวันได้ผล : ลีกญี่ปุ่นดูแลทีมดิวิชั่นต่ำให้เติบโตอย่างไร ?
ชยันธร ใจมูล

ในขณะที่มีข่าวลือ ๆ กันออกมาว่าในซีซั่นหน้าสโมสรในระดับรากหญ้าโดยเฉพาะในระดับไทยลีก 3 อาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน..

PHOTO : Wikipedia

แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่ที่แน่ ๆ การทิ้งให้ฟุตบอลดิวิชั่นล่าง ๆ ที่เป็นเหมือนรากฐานของฟุตบอลทั้งประเทศนั้นส่งผลกระทบครั้งใหญ่แน่ และเราจะลองมายกตัวอย่างให้ดูว่า ญี่ปุ่น สร้างฟุตบอลในประเทศของเขาอย่างไรให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน ทีมระดับล่างมีคุณภาพพอฟัดพอเหวี่ยง ดวลกับทีมในลีกสูงสุดได้  ... จนทำให้พวกเขาเป็นทีมฟุตบอลอันดับ 1 ของเอเชีย

ไม่ต้องบังคับ ทุกอย่างเท่าเทียม

หากใครดูฟุตบอลญี่ปุ่น คุณจะเห็นสิ่งหนึ่งคือนี่คือลีกที่พร้อมจะมีผลการแข่งขันที่พลิกได้ตลอดเวลา ในเจลีก 1 มีทีมมากมายสลับหน้ากันขึ้นมาบนหัวตาราง บางทีมได้แชมป์อยู่ดี ๆ แต่อีกปีกลับผลงานดรอปลงอย่างเห็นได้ชัด ... เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก และใครจะรู้เรื่องนี้ดีไปกว่า เปโดร อีริออนโด้ บรรณาธิการนิตยสารฟุตบอลญี่ปุ่นชื่อว่า J-Soccer ที่วางแผงตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบัน  

"ในเจลีกนั้นผลการแข่งขันคาดเดายากเสมอ จริงอยู่ที่นี่มีทีมแกร่งจากยุคเก่าอย่าง อูราวะ เร้ดส์, คาชิมา อันท์เลอร์ส หรือ โยโกฮาม่า มารินอส แต่บางช่วงทีมเหล่านี้ไม่เคยสัมผัสแชมป์ลีกเลย ในช่วง 5-10 ปี"

PHOTO : The Japan Times
"ฟุตบอลญี่ปุ่นสูสีและใกล้เคียงกันในขนาดที่ว่าในปี 2014 กัมบะ โอซาก้า ที่เป็นทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นมาจากเจลีก 2 กลับสามารถคว้าแชมป์เจลีก 1 ได้ทันที นี่คือเรื่องที่แทบไม่เกิดขึ้นเเล้วในโมเดิร์นฟุตบอล"

นอกจากเคสของ กัมบะ โอซาก้า ในปี 2014 แล้ว ยังมีเรื่องของทีมมหาวิทยาลัย สึคุบะ ที่เป็นทีมระดับกึ่งเอายังเคยสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว่ำทีม เวลกัลตะ เซ็นได (เจลีก1) ในรายการ เอ็มเพอเร่อร์ส คัพ เมื่อปี 2017 อีกด้วย โดยดาวเด่นของ ม.สึคุบะ ในเวลานั้นก็คือ คาโอรุ มิโตะมะ ที่เป็นดาวเด่นในพรีเมียร์ลีกกับไบรท์ตันในเวลานี้

ความเท่าเทียมและโตจากรากไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้น สโมสรจากลีกล่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ยังได้รับการแบ่งสรรปันส่วนเรื่องลิขสิทธิ์รายได้อย่างเป็นธรรมแม้ว่าลีกของพวกเขาอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากเท่าลีกสูงสุดก็ตาม

PHOTO : Sport Business

ยกตัวอย่างเช่นในปี 2022 ที่ผ่านมา ศึกฟุตบอลเจลีก 1 สามารถขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดได้ 2 หมื่นล้านเยน หรือราว 5 พันล้านบาท ถ้าพวกเขายกเงินจำนวนนี้ทั้งหมดให้ทีมในเจลีก 1 โดยทิ้งทีมจากดิวิชั่นล่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดระยะห่างกันมากขึ้น เกิดสภาวะรวยกระจุกจนกระจายได้ง่าย ๆ และถ้าเป็นแบบนั้น คุณภาพแง่ของภาพรวม หรือการมองภาพใหญ่ทั้งประเทศ ก็ยังไม่สมดุลกัน ทั้งประเทศจะเก่งกันอยู่แค่ไม่กี่ทีม ขณะที่ทีมเล็ก ๆ ยากจะพัฒนาได้หากไร้ซึ่งเม็ดเงิน

เรื่องดังกล่าวทำให้สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นนั้นแบ่งเงินจาก 5 พันล้านบาท ออกเป็นหลัก ๆ  2 ส่วน ได้แก่ 2.5 พันล้านบาท(ครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็ม) สำหรับแบ่งให้กับทีมในเจลีก 1 ขณะที่ทีมในเจลีก 2 เจลีก 3 และทีมระดับกึ่งอาชีพ จะได้เงิน 2.5 พันล้านบาท ที่มาจากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของ เจลีก 1 ไปเป็นเงินทุนในการพัฒนาสโมสร

แบ่งแล้วได้อะไร ?

สิ่งที่ตามมาจากหลังจากนั้นคือเราจะได้เห็นคุณภาพที่เข้มข้นของฟุตบอลญี่ปุ่นตั้งแต่ลีกดิวิชั่น 3 ของประเทศพวกเขาที่นักเตะไทยหลายคนเคยไปที่นั่นและพูดออกมาว่าระดับการเล่นไม่ได้ห่างจากศึกไทยลีกมากอย่างที่ใครหลายคนคิดเลย  

เรื่องนี้ จักรกฤษณ์ เวชภิรมย์ ที่เคยไปเล่นกับทีม เอฟซี โตเกียว รุ่นยู 23 ที่ลงแข่งขันในศึก เจลีก 3 ก็ออกมาเปิดเผยว่าแม้แต่เขาที่ถือว่าเป็นนักเตะดาวรุ่งแถวหน้าของเมืองไทย ณ เวลานั้น ก็ยังต้องโดนปรับตัวอย่างมาก ในแง่ของความเข้มข้น

PHOTO : Bangkok United
"ผมเล่นตำแหน่ง ปีก แต่พอซ้อมไปได้สักระยะ โค้ช (โยชิยูกิ ชิโนดะ) เปลี่ยนให้ผมมาเล่นตำแหน่ง วิงแบ็กขวา เขาบอกว่าเกมรับผมยังไม่ได้เรื่อง ยืนตำแหน่งได้ไม่ดี ยืนรอให้บอลมาหาตัว คิดช้าทำช้า ถ้าเป็นที่ไทย  จับบอล 1 จังหวะ 2 จังหวะ 3 จังหวะ แล้วค่อยส่งยังได้ แต่ที่ญี่ปุ่น จับบอลจังหวะแรก จังหวะที่ 2 มีผู้เล่นเข้ามาถึงตัวแล้ว "

นอกจากนี้ เชาวัฒน์ วีระชาติ ที่เคยไปเล่นใจเจลีก 3 กับ เซเรโซ โอซาก้า ก็พูดไม่ต่างกันว่า แม้ตัวเขาจะผ่านศึกไทยลีกมาแล้ว แต่ก็ต้องใช้เวลาปรับตัวพักใหญ่กว่าที่จะเล่นในระดับ ดิวิชั่น 3 ของญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง

การเล่นของ คากาวะ ตอนอยู่ใน เจ ทู

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าหากทุกทีมได้รับการสนับสนุนอย่างสมควรแก่เหตุ แม้จะเป็นทีมรากหญ้าก็ยังสามารถผลิตนักฟุตบอลเก่งขึ้น ๆ มาเป็นตัวหลักในระดับทีมชาติได้ อาทิ ชินจิ คางาวะ ที่แม้จะไม่ได้เล่นในลีกสูงสุดของประเทศ แต่เขาก็ถูกดึงตัวไปอยู่กับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ตั้งแต่ที่ตัวเขาเพิ่งเล่นในระดับเจลีก 2 อยู่เลยด้วยซ้ำ

PHOTO : J League

เห็นได้ชัดว่าการที่ญี่ปุ่นไม่เคยทิ้งฟุตบอลรากหญ้า ทำให้พวกเขาสามารถสร้างสโมสรและนักเตะเตะคุณภาพขึ้นมาเติมเต็มแบบชุดต่อชุดได้เรื่อย ๆ ทุกคนโตมาภายในระบบเดียวกัน ต่างกันแค่ขนาดชื่อเสียงของสโมสรเท่านั้น ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะพยายามแค่ไหนที่จะยกระดับตัวเองขึ้นมา

พวกเขาไม่ต้องห่วงเรื่องของรายได้ หรือการเรียนรู้ฟุตบอลเลยด้วยซ้ำ เพราะทุกอย่างถูกจัดสรรมาอย่างลงตัว และทำให้ ญี่ปุ่น ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมไปแล้วในตอนนี้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
https://www.ecofoot.fr/interview-iriondo-j-league/
https://www.statista.com/statistics/1285324/j-league-ordinary-revenue-by-source-of-income/
https://www.sanook.com/sport/839841/
https://football-tribe.com/thailand/2018/05/03/chaowat-cerezou23/

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เมื่อครั้งหนึ่ง “อิชิอิ” เคยทำงานในโรงอาหาร หลังคว้ารองแชมป์สโมสรโลก

คล้ายตรงไหนบ้าง? : ศุภณัฏฐ์ นักเตะเงา โลซาโน่ ในสายตาสื่อต่างประเทศ

เวียดนามกร้าวก่อนซีเกมส์ : "4 ปีก่อน ทรุสซิเย่ร์ ก็เคยพาทีมเวียดนามยู 19 เอาชนะไทยมาแล้ว

เก่งในสนามไม่พอ : สาเหตุใด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถึงครองความยิ่งใหญ่ได้แบบยั่งยืน ?

บุรีรัมย์ ยังห่างแค่ไหน ? 10 สถิติไร้พ่ายนานที่สุดในโลก ณ ตอนนี้

คุณสมบัติอะไรที่ทำให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นทีมไร้พ่ายนานที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ ?

ศุภณัฏฐ์ นำทัพ : 6 วันเดอร์คิดเอเชียที่ติดอันดับโลกปี 2019 ทุกวันนี้เป็นอย่างไร ?

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ