สนามเด็กเล่นของเหล่าแรงงาน : “เอเชียทาวน์” พื้นที่ดูเกมฟุตบอลโลก 2022 ของกรรมกรผู้ถูกลืม

สนามเด็กเล่นของเหล่าแรงงาน  : “เอเชียทาวน์” พื้นที่ดูเกมฟุตบอลโลก 2022 ของกรรมกรผู้ถูกลืม
ธัญเทพ สังขะพงศ์

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า สุภาษิตนี้ใช้ไม่ได้กับที่นี่ …

ยินดีต้อนรับสู่ “สนามเด็กเล่นสำหรับเพื่อนๆชาวอุตสาหกรรม” เป็นภาพที่งดงามสำหรับโซนอุตสาหกรรมนี้ ชายจากอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เคนยา และยูกันดาอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เพลิดเพลินกับเกมฟุตบอล พูดคุย และหลีกหนีจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน

พื้นที่ห่างไกลผืนหนึ่งในเขตชานเมืองของกรุงโดฮาใช้เวลาขับรถประมาณ 25 นาที ภายในสนามกีฬาคริกเก็ตแห่งหนึ่ง มีชายหลายร้อยคนมารวมตัวกัน พวกเขาใช้พื้นที่นี้รับประทานอาหารและพักผ่อนหย่อนใจหลังจากทำงานอย่างหนักมาแสนนาน มีสนามฟุตบอลขนาดเล็กสำหรับ 5 คนและสนามวอลเลย์บอล จอขนาดใหญ่ที่กำลังฉายฟุตบอลโลก และมีการแสดงฮาฟไทม์โชว์จากหนุ่มๆชาวอินเดีย

บริเวณนี้ตั้งอยู่ในเขตเอเชียทาวน์ ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นพื้นที่สำหรับศูนย์สรรพสินค้าและสถานบันเทิงสําหรับผู้อพยพชาวกาตาร์ กาตาร์มีประชากรราว 2.9 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือชาวต่างชาติ ที่เอเชียทาวน์แห่งนี้มีชาวกาตาร์มีเพียง 380000 คนเท่านั้น ซึ่งเปิดในปี 2015 เพื่อรองรับแรงงานข้ามชาติที่ช่วยเหลือรัฐบาลในโปรเจคสุดสำคัญอย่างฟุตบอลโลก 2022

แฟนบอลที่เดินทางมาในช่วงสัปดาห์แรกของฟุตบอลโลกจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในใจกลางกรุงโดฮา มีเพียงชายชาวกาตาร์ไม่กี่คนที่เป็นขาจรของที่นี่ แทบไม่มีผู้หญิงให้เห็นเลย เพราะส่วนใหญ่แรงงานที่นี่เป็นผู้ชายและโซนนี้เกือบทั้งหมดเป็นแรงงานข้ามชาติ

ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จของฟุตบอลโลกที่กาตาร์ครั้งนี้ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่กลางเมืองโดฮาเป็นพื้นที่ห้วงห้ามสำหรับคนงานอย่างพวกเขา เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ต้องใช้บัตร “Hayya” เพื่อผ่านเข้าไป ซึ่งบัตรนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีบัตรเข้าชมการเเข่งขันฟุตบอลโลกหรือไม่

Photo : Marko Djurica/Reuters

เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ไม่ได้สวยงามแบบฉากหน้า

คนงานหลายคนได้ให้สัมภาษณ์กับ The Athletic ว่าแม้จะมีที่นั่งว่างมากมายในการแข่งขัน แต่พวกเขาไม่สามารถซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขันที่กาตาร์ได้ ชาวกาตาร์สามารถซื้อตั๋วได้ในราคาเพียง 40 ริยาลกาตาร์ (392 บาท) แต่ราคาตั๋วเหล่านี้ก็ยังไกลเกินเอื้อมสําหรับคนงานอย่างพวกเขา

แรงงานชาวเคนยากลุ่มหนึ่งบอกเล่า “พวกเขาทิ้งประเทศของตนไว้เบื้องหลังได้อย่างไร” พวกเขาได้รับสัญญาบางอย่างว่าจะมีโอกาสมากขึ้นในกาตาร์ พวกเขาขอไม่ให้เปิดเผยชื่อเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการจ้างงานในภายหลัง

ชายคนหนึ่งแสดงสัญญาของเขาบนโทรศัพท์มือถือ “พวกเราจะได้รับเงิน 1,000 ริยาลกาตาร์ (9,200 บาท) ต่อเดือน รวมถึงค่าอาหาร 300 ริยาล (2,940บาท) ต่อเดือน” แต่เบี้ยเลี้ยงอาหารจะถูกหักออกทันทีที่ได้รับเมื่อคนงานรับประทานอาหารในโรงงานใกล้กับที่พัก

“หอพัก (รวมอยู่ในข้อเสนองานของพวกเขา) จะเป็นผู้ชายสี่คนต่อหนึ่งห้อง เตียงสองชั้น และคนงานแต่ละคนจะมีตู้เสื้อผ้าหนึ่งตู้”

แต่คนงานยูกันดาคนหนึ่งกล่าวว่า “ยังมีหอพักอื่นๆมีผู้ชายมากถึง 12 คนในห้องเดียวกัน” พวกเขาแสดงภาพให้เห็นว่า ห้องน้ำชายอีกสี่แห่งมีฟูกนอนอยู่ในทุกมุมๆของห้องน้ำ

เงินเดือนของพวกเขาเหล่านี้ หากคิดรวม 12 เดือน จะอยู่ที่ประมาณ 3,295 ดอลลาร์ต่อปี (117,598บาท) คนงานชาวเคนยาบอกกับ The Athletic ว่าเขาจ่ายเงินให้บริษัทจัดหางานเคนยา 100,000 ชิลลิงเคนยา (29,171บาท) เพื่อให้ได้ตำแหน่งในกาตาร์ แต่เอเจนซี่บอกเขาว่าเขาจะมีรายได้สองเท่าของตัวเลขที่เขาได้รับต่อเดือน

“ผมไม่สามารถทำอะไรได้เลยเกี่ยวกับเรื่องนี้” เขาพูดด้วยเสียงที่แผ่วลง

"พวกเราหลายคนมาที่นี่พร้อมหนี้สินก้อนโตเพราะเรายืมเงินมาเพื่อหาโอกาสในกาตาร์”

“ผมไม่สามารถทำอะไรได้ในสถานการณ์นี้ ถ้าผมบ่นผมก็กลัวว่าจะตกงาน”

“ทั้งที่จริงๆแล้วผมต้องการเงินมากกว่านี้ เพราะผมมาที่นี่เพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้น ผมพยายามส่งเงินกลับบ้านให้กับพี่น้องในเคนยา แต่มันทําให้ผมแทบไม่เหลืออะไรในการใช้ชีวิตที่นี่เลย”

Photo : Marko Djurica/Reuters

ช่างเทคนิคด้านไอทีสองสามคนจากอินเดียที่อาศัยอยู่ในกาตาร์ กล่าวว่า พวกเขาเคยเข้าร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ แต่พวกเขาชอบและเลือกที่จะใช้เวลากับชาวอินเดียพลัดถิ่นในพื้นที่นี้มากกว่า

ที่แฟนโซนคนงานชาวอูกันดาอีกคนวัย 30 ปี กำลังคุยเรื่องฟุตบอล เขาบอกว่า “อังกฤษ คือ ทีมโปรดของเขาเพราะเขารักแมนเชสเตอร์ซิตี้” และเขาคิดว่า “ฟิล โฟเด้น ควรได้ออกสตาร์ทเป็นตัวจริง”

ชายชาวอูกันดาคนนี้ เขามีลูกสาวอายุ 8 ขวบ ซึ่งเขาส่งเงินให้ที่บ้านทุกเดือน เขามีความฝันและแรงบันดาลใจ เขาอยากเรียนเกี่ยวกับการเงินและบัญชี แต่เพื่อครอบครัวต้องมาก่อนเสมอ เขาใช้ชีวิตอยู่ที่โดฮามาสามปี เขายังคงแชร์ห้องกับผู้ชายอีกสามคน เงินเดือนของเขาคือปัญหาอย่างมาก เขาอธิบายว่า

“ที่พักของผมไม่มีตู้เย็นและซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ราคาแพง แม้ผมจะพยายามลดค่าใช้จ่ายแค่ไหน แต่ผมก็ต้องจ่ายค่าอาหารมากมายอยู่ดีในแต่ละเดือน และผมร้อนโคตรๆ ผมสามารถทําอาหารเผ็ดได้ แต่ไม่ใช่ทําทุกวัน”

เขากล่าว “บางครั้ง ห้อง ความบันเทิง อาหารและงานที่เข้มงวด ทำให้เขาจิตนาการถึงคุกได้เลย”

และชายชาวเคนยาอีกคน กล่าวอย่างติดตลกปนเศร้าว่า “เขารู้สึกขอบคุณที่ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมตั้งแต่เริ่มทำงานในกาตาร์และเขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสของเขาในอนาคต”

อดัม คราฟตัน ผู้สื่อข่าวของ The Athletic สัมภาษณ์ชายชาวอูกันดาคนหนึ่งว่า เขาคิดว่าอนาคตของกาตาร์ไปไกลกว่าฟุตบอลโลกหรือไม่

“ผมหวังว่าจะไม่” เขากล่าวพร้อมกับลดเสียงลง “ที่นี่ไม่มีโอกาสก้าวหน้า ผมไม่รู้สึกว่ามีโอกาสก้าวหน้า เพราะคนชาติกาตาร์ให้ความสําคัญกับงานที่ดีเป็นอันดับแรก

เขายังกล่าวด้วยรอยยิ้มอันขมขื่นว่า “เรื่องความรักของเขาไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะรอบตัวเขาเต็มไปด้วยแรงงานชาย และบอกว่าเขากลัวว่าการกล่าวทักทายผู้หญิงชาวกาตาร์จะทำให้พวกเธอไม่พอใจ”

“ผมคิดว่าคนจนอย่างผมคงไม่น่าดึงดูดใจเท่าไหร่” เขากล่าวพร้อมกับรอยยิ้มที่แจ่มใส ก่อนจะออกจากแฟนโซนด้วยความยากลำบาก และกลับมาที่หอพักเพื่อเตรียมทำงานต่อ

ทางฟีฟ่าได้ทำป้ายและฝากข้อความถึงพวกเขาที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ อาหรับ และฮินดี ว่า
“ขอบคุณสำหรับการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา”

Photo : Reuters

แหล่งอ้างอิง

https://theathletic.com/3938386/2022/11/27/world-cup-qatar-migrant-workers/?source=emp_shared_article

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

Content Creator - คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ