แนวทางการเลือก 'กุนซือ' ตามหลักชาติชั้นนำเทียบกับ 'ไทย' เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?

แนวทางการเลือก 'กุนซือ' ตามหลักชาติชั้นนำเทียบกับ 'ไทย' เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?
ณัฐพล อ่วมเรืองศรี

แม้ว่าตำแหน่งกุนซือ ‘ทีมชาติไทย’ ตอนนี้จะอยู่ในภาวะสูญญากาศ หลังจากแยกทางกับ มาโน่ โพลกิ้ง แล้วมีการหันไปติดต่อกับ มาซาทาดะ อิชิอิ อดีตกุนซือของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ให้เดินทางมาสานงานในตำแหน่งนี้ต่อ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยเรื่องรายละเอียดต่างๆ ออกมาให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตามผู้จัดการทีมชาติไทยอย่าง 'มาดามแป้ง' นวลพรรณ ล่ำซำ ได้อัพเดตล่าสุดเอาไว้ว่า สัญญาของ อิชิอิ จะเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า ก่อนจะเปิดตัวคุมทีมในนัดที่บุกไปอุ่นเครื่องกับ ทีมชาติญี่ปุ่น ในวันที่ 1 มกราคม 2567

5 แคนดิเดต กุนซือทีมชาติไทย พูดถึงการเข้ารับตำแหน่งนี้อย่างไรบ้าง? | Think Curve - คิดไซด์โค้ง
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการโหวดของแฟนบอลได้ดียิ่งขึ้น ทีมงานจึงได้รวบรวมเอาบทสัมภาษณ์บางส่วนของแต่ละคนมาประกอบการพิจารณา มาดูกันเลยว่า คำตอบของโค้ชคนไหนจะตรงใจกันบ้าง?

จากการจัดการที่ดูเร่งรีบและมีความคลุมเครือในหลายภาคส่วน ทำให้ทีมงาน Think Curve - คิดไซด์โค้ง สงสัยว่าแนวทางการเลือก 'กุนซือ' ของผู้บริหารที่มีอำนาจใน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เหมือนหรือแตกต่างกับชาติชั้นนำทั้งใน เอเชีย และ ยุโรป อย่างไรบ้าง?

ดังนั้นจึงได้มีการรวบรวมข้อมูลจากทั้งหลักการสากล และ การสอบถามประสบการณ์จากผู้ที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้อง นำมาประกอบไว้ในบทความ ดังต่อไปนี้

วางเป้าหมายก่อนคัดตัว

ตามหลักการสากล จุดเริ่มต้นในการเลือกเฮดโค้ชและทีมงานผู้ช่วยเข้ามาทำทีมทั้งในระดับ สโมสร หรือ ทีมชาติ ของเหล่าผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้ จะจัดการประชุมพร้อมกับวางเป้าหมายให้ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาวว่า ทีมที่พวกเขาจำเป็นต้องการเปลี่ยนแปลงเฮดโค้ชนั้นวางเป้าความสำเร็จไว้ที่รายการใดก่อนเป็นอันดับแรก

ซึ่งถ้ายกตัวอย่างกรณีของ ทีมชาติไทย ตอนนี้ คือ การผ่านเข้ารอบต่อไปในทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลก เป็นต้น

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการคัดสรร ตามขั้นตอน เรียงลำดับตามความสำคัญตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้

1. โปรไฟล์ (ประวัติการทำงาน) - ทีมงานจะคัดกรองโค้ชจากผลงานความสำเร็จที่ผ่านมา พร้อมกับตัดเกรด เช็ครายละเอียดเรื่องไลเซนส์การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโค้ชชาวไทยหรือชาวต่างชาติว่า ดีกรีของแคนดิเดตรายนั้นๆ อยู่ในระดับไหนก่อน เหมาะกับเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่?

โดยข้อมูลที่ทางทีมงาน Think Curve - คิดไซด์โค้ง ไปสืบเสาะมาได้มาดังนี้ว่า

PHOTO : The Japan Times
“ยกตัวอย่างสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นในสถานการณ์ตอนนี้ ทีมชาติไทย ต้องการเฮดโค้ชที่สามารถพาทีมผ่านเข้ารอบไปเล่นฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก รอบต่อไปให้ได้ จึงต้องการโค้ชที่เคยประสบความสำเร็จในรายการใหญ่ๆ อย่างแชมป์ลีกชั้นนำ หรือ ประสบความสำเร็จระดับแชมป์ทวีป จะเอาโค้ชที่เคยประสบความสำเร็จระดับแค่โซนอาเซียนเข้ามา ก็อาจไม่ตรงกับเป้าหมายเท่าไหร่นัก”

โมเดลการเลือกเฮดโค้ชเช่นนี้ ทีมชาติเยอรมัน ที่เคยประสบความสำเร็จเป็นถึงแชมป์ฟุตบอลโลก ก็เคยนำมาใช้เช่นกัน ด้วยการนำเอาโค้ชที่เคยประสบความสำเร็จในระดับสโมสร ยกตัวอย่าง เช่น โยอาคิม เลิฟ (พา สตุ๊ทการ์ตเป็นแชมป์ เดเอฟเบ โพคาล 1996-97 และ พา ติโรล อินน์สบรู๊ก เป็นแชมป์ลีกออเสตรีย 2001-02) และ ฮันซี่ ฟลิก (พา บาเยิร์น มิวนิค คว้า ทริปเปิ้ล แชมป์ ในฤดูกาล 2019/20)

PHOTO : Goal

2. จิตวิทยา สำคัญมาก มีมากหรือน้อยอยู่ที่สไตล์ของแต่ละคน ซึ่งต้องบาลานซ์ให้เกิดสมดุลภายในทีม ต้องรู้ว่าช่วงเวลานั้นนักเตะต้องการอะไร บอลแพ้ต้องใช้อะไร บอลชนะต้องใช้อะไร อย่างเกมระดับอาเซียน แทคติกไทยอาจไม่ต้องเข้มข้นมาก แต่ต้องปลูกฝังเรื่องของศีกดิ์ศรี มึงเป็นเจ้าอาเซียน เดินลงสนามตัวต้องใหญ่กดทุกทีมให้อยู่ ต้องชนะตั้งแต่ก่อนเกมแล้ว

3. บารมี เหมือนจริยธรรม ประเมินออกด้วยการมองเห็น หรือ สัมผัส แต่ไม่สามารถบอกชัดเจน ได้เช่น โค้ชคนนี้ดีนะ เอานักเตะอยู่ นักเตะเคารพ แต่บางทีถ้าไม่ได้ผลการแข่งขันที่ดี บารมีก็หมดเหมือนกัน

4. แผนการนำเสนองาน (ล็อคบุ๊ค) - หลังจากที่แคนดิเดตรายต่างๆ ถูกคัดกรองมาแล้ว จำเป็นต้องนำเสนอแผนงานให้กับผู้บริหารพิจารณา ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ แบ่งออกเป็น การพัฒนาระบบฟุตบอลโดยองค์รวมทั้งประเทศ (สร้างนักเตะเยาวชน หรือ ปลูกฝังทัศนคติ), แผนงานระยะสั้น (ผลงานทัวร์นาเมนต์ที่แข่งขันในปีนั้นๆ), แผนงานระยะกลาง (พัฒนาอะไรไปบ้างและผลลัพธ์ออกมาเป็นเช่นไร?) และ แผนงานในระยะยาว (เป้าหมายใหญ่ที่ตั้งเอาไว้เป็นไปตามเป้าหรือไม่? มีพัฒนาการเกิดขึ้นบ้าง?)

ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมได้มีการเสริมไว้ว่า 

“โค้ชไทยที่โปรไฟล์ดีๆ เก่งๆ มีเยอะ แต่ขาดเรื่องการนำเสนอ ล็อคบุ๊ค ที่ไม่ชัดเจน ไม่มีการนำเสนองานที่ดีพอว่าจะวางแผนทำทีมเป็นแบบไหน? ตามระยะเวลาสั้น-กลาง และ ยาว แบบมืออาชีพ ส่วนใหญ่จะเก่งคุมทีมหน้างาน มีบารมีจากการเป็นรุ่นพี่ทีมชาติเก่า บางตัวเลือกเลยถูกปัดตกไปตั้งแต่ช่วงนี้ เพราะเมื่อผู้บริหารมาปรึกษาโค้ชที่เคยมีประสบการณ์ที่พวกเขาไว้ใจ ก็ต้องนำฟีดแบ็คเรื่องนี้ไปพิจารณาเช่นกัน”
PHOTO : True Bangkok United

หากมองเรื่อง แคนดิเดตโค้ชชาวไทย ที่แฟนบอลและสื่อบ้างเจ้าเชียร์ให้มาทำทีมชาติมากที่สุดอย่าง ‘โค้ชแบน-ธชตวัน ศรีปาน’ เชื่อว่าเรื่องแผนงานและการทำล็อคบุ๊ค เพื่อนำเสนอผู้บริหารนั้นไม่ใช่เรื่องยาก โปรไฟล์ความสำเร็จก็ผ่านเกณฑ์ บารมีการคุมนักเตะรุ่นน้องให้อยู่ในโอวาทนั้นมีอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ โค้ชแบน ยังไม่ได้ทำให้เห็นเลย คือ เรื่องของการปั้นหรือสร้างเยาวชนชุดใหม่ขึ้นมาต่อยอดจากชุดเดิม ซึ่งในสมัยที่เขาคุมทีมระดับสโมสรใหญ่ๆ อย่าง เมืองทอง ยูไนเต็ด และ แบงค็อก

5. ค่าจ้างและระยะเวลาสัญญา - แน่นอนว่าหากต้องการเฮดโค้ชโปรไฟล์ดีๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องจ่ายหนัก เพื่อแลกกับการได้ทีมงานระดับมืออาชีพเข้ามาทำงาน อย่างไรก็ตามโค้ชบางคนต้องการหอบหิ้วทีมงานที่พวกเขาไว้ใจมาด้วย เพื่อทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากงบประมาณของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ไม่เพียงพอ โอกาสที่จะตกไปสู่ตัวเลือกรองๆ ย่อมเป็นไปได้

จากเริ่มจนถึงตอนจบ : การทำงานแบบไทยสไตล์ที่ทำให้ อิชิอิ ต้องโบกมือลาแบบจบไม่สวย | Think Curve - คิดไซด์โค้ง
เรื่องราวทั้งหมดมีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร? บริบทจากการให้สัมภาษณ์ของ อิชิอิ สามารถเดาทางได้ไหมว่าใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้? ร่วมสืบทุกประเด็นไปพร้อมกับ Think Curve - คิดไซด์โค้ง

6.ทัศนคติในการทำงานกับผู้บริหาร - ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการตัดตัวเลือกว่า ‘ใคร’ คือ คนที่ทำงานร่วมกับผู้บริหารได้ในระยะยาว แล้วจะไม่มีปัญหาความคิดเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างทาง เพราะหากตั้งเป้าหมายไว้จุดเดียวกัน การทำงานแบบเข้าใจกัน มีทัศนคติที่ตรงกัน และ ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างทางนั้นสำคัญมาก หากต้องมีการปรับเปลี่ยนในช่วงทัวร์นาเมนต์ที่กำลังมีลุ้น อาจส่งผลกระทบต่อผลงานของทีมและการบริหารจัดการในองค์รวมได้

ยิ่งไปกว่านั้น ‘หัวใจสำคัญ’ ที่จะมองข้ามไม่ได้ในการเลือกเอดโค้ชในระดับสโมสรหรือทีมชาติในประเทศไทย จำเป็นต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกับนักเตะแกนนำของทีม ต้องซื้อใจให้ได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าเก่งจริง จนได้รับการยอมรับ

ไม่เช่นนั้นผู้เล่นภายในทีมก็จะมีการตั้งคำถามอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ แท็คติก, การซ้อม หรือ การจัดวางแนวทางการพัฒนาทีมในระยะยาว

ขาดผู้ช่วยคนไทยไม่ได้

สิ่งสำคัญที่ เฮดโค้ชโปรไฟล์ดีชาวต่างชาติ จะขาดไม่ได้เลย คือ ทีมงานสตาฟฟ์โค้ชที่เป็นคนท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ทั่วโลกในวงการลูกหนัง เพราะสโมสรหรือทีมชาติชั้นนำ ยังต้องมีทีมงานโค้ชประเทศที่พวกเขารับงานอยู่ในทีม เพื่อคอยประสานงานกับนักเตะภายในทีมให้เข้าใจตรงกันและให้ข้อมูลเชิงลึก

PHOTO : Manchester Evening News

ยกตัวอย่างเช่น กรณีของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่มีผู้จัดการทีมอย่าง เอริก เทน ฮาก แล้วมีผู้ช่วยที่หอบหิ้วมาจากเนเธอร์แลนด์อย่าง ไมค์ ฟาน เดอร์ กาก อยู่แล้ว แต่ยังต้องไปดึงตัว สตีฟ แม็คคลาเรน อดีตมือขวาของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เข้ามาเป็นผู้ช่วยอีกราย

แน่นอนว่าตอนนี้ ทีมชาติไทย เลือกเอา มาซาทาดะ อิชิอิ เข้ามาทำทีม ย่อมต้องบรรจุสตาฟฟ์โค้ชคนไทย เข้าไปในตำแหน่งทีมงานเพื่อช่วยเรื่องการให้ข้อมูลนักเตะเชิงลึก เกี่ยวกับอุปนิสัยหรือแนวทางการเล่น ซึ่งดูเหมือนว่าตอนนี้พอจะเดาได้แล้วว่า ใครกันบ้างที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในจุดนี้

ก่อนหน้านี้ที่ทัพ ช้างศึก เคยทดลองใช้งานกุนซือต่างชาติทั้ง ญี่ปุ่น และ เยอรมัน การถ่ายทอดเรื่องของแท็คติกให้ตรงตามที่เฮดโค้ชต้องการนั้นเคยมีปัญหาอยู่บ้างในบางประเด็น

“หากเฮดโค้ชนั้นได้ภาษาอังกฤษ คุยกันด้วยภาษากลางมันก็เข้าใจกันได้ เพราะอย่างน้อยฟุตบอลมันมีภาษาและแนวทางการถ่ายทอดที่พอจะเข้าใจตรงกันได้อยู่ แต่เรื่องของรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ไม่เช่นนั้นนักเตะอาจทำตามที่โค้ชสั่งการมาไม่ได้ 100%”

PHOTO : Thaipost

“การใช้ล่ามแปลจากภาษาที่ 3 มาเป็นภาษาอังกฤษ ก่อนจะถ่ายทอดไปให้นักเตะอีกที มันค่อนข้างกินระยะเวลานานพอสมควร ทำให้การประชุมทีม และ การซ้อม กินระยะเวลายาวนานขึ้นกว่าปกติ ถ้ามีโค้ชไทยที่ให้ข้อมูลนักเตะเชิงลึกกับเฮดโค้ชได้ คุมนักเตะให้เชื่อฟังได้อยู่ในทีมงาน จะช่วยประสานงานให้การทำงานไหลลื่นได้มาก บางทีคนใหม่เข้ามาเขาก็ไม่รู้เรื่องเท่าคนท้องถิ่นที่อยู่ในวงการมานาน”

นอกจากนี้อุปนิสัยในการทำงานของเฮดโค้ช ก็ต้องจูนให้ตรงกับลูกทีมได้อย่างลงตัว ต้องเป็นคนที่มีทักษะเรื่องของจิตวิทยา สามารถกระตุ้นนักเตะได้ ออกคำสั่งนักเตะได้ ทำให้ลูกทีมยอมรับได้ ด้วยการไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวมากจนเกินไป 

เรื่องนี้ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะธรรมชาติของนักเตะบ้านเรา ค่อนข้างจะเป็นแนว ‘ศิลปินลูกหนัง’ เสียเป็นส่วนใหญ่ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ หากไปแข็งใส่หรือจัดการด้วยอารมณ์ทีรรุนแรง ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจเป็นตรงกันข้ามกับที่ต้องการ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

www.siamsport.co.th

https://www.transfermarkt.com/

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘เดวิด คิสต์’ ผู้สานต่อโปรเจ็คท์ U20 บลูล็อคสไตล์จิงโจ้

แชร์บทความนี้
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ