เกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่น ชาติใดคือโควต้าเอเชียยอดฮิตไทยลีกตัวจริง ?

เกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่น ชาติใดคือโควต้าเอเชียยอดฮิตไทยลีกตัวจริง ?
ณัฐพล อ่วมเรืองศรี

หลังจากที่ไลีกฟุตบอลในประเทศไทย เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากแฟนบอลในประเทศ รวมไปถึงเป็นทีมจับตามองจากต่างประเทศ มีมุลค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลักสิบล้าน ร้อยล้าน อยู่บางช่วง ส่งผลให้นักเตะต่างชาติมองว่า ไทย ลีก คือ หมุดหมายในการค้าแข้งอีกแห่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้

แน่นอนว่าโควต้านักเตะต่างชาติที่ถูกแบ่งออกเป็น อาเซียน, เอเชีย และชาติอื่นๆ ย่อมส่งผลต่อศักยภาพของทีมที่ลงแข่งขันทุกสโมสรแบบปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากทีมระดับลุ้นแชมป์หรือทีมหัวตาราง ต่างจำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์ในการใช้โควต้าที่มีในมือให้คุ้มค่าที่สุด ตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ในคงคลัง

โนโบรุ ชิมูระ Archives -

สำหรับโควต้าเอเชีย ชาติยอดนิยม ที่ทีมใน ไทย ลีก พุ่งเป้าไปตามหามากที่สุด ยากที่จะหนีพ้น เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาอำนาจในทวีปนี้มาอย่างช้านาน แล้วพัฒนาศักยภาพผู้เล่นระดับท็อปส่งออกไปยังลีกยุโรปอย่างต่อเนื่อง แถมผลงานบนเวทีทีมชาติก็มีแต่พุ่งทะยานสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามจากสาเหตุนั้ ส่งผลให้การแข่งขันเพื่อเป็นนักเตะอาชีพในทั้งสองประเทศจึงพุ่งสูงเป็นเงาตามตัว ทำให้นักเตะเกรดรองๆ หรือกลุ่มที่ถูกมองข้าม จำเป็นต้องย้ายออกมาหาความท้าทายนอกประเทศในลีกที่มีความเข้มข้นลดหลั่นกันลงมา ซึ่งเวที ไทย ลีก ก็กลายเป็นปลายทางของกลุ่มนักเตะจาก ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่ชาติใดกันแน่ที่เป็นโควต้าที่ได้รับความนิยมจากสโมสรใน ไทย ลีก มากที่สุดในช่วง 10 ปีหลังมานี้ ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ Think Curve - คิดไซด์โค้ง

เงื่อนไขส่งผลต่อการเลือก

จากข้อมูลดั้งเดิมที่ทางทีมงาน คิดไซด์โค้ง มีโอกาสได้พูดคุยกับเอเย่นต์ที่นำเข้านักเตะต่างชาติมาค้าแข้งในประเทศไทย ส่วนมากแล้วสโมสรต่างๆ หรือผู้บริหารจะเป็นคนส่งรายละเอียดนักเตะที่ต้องการไปให้ทางเอเย่นต์ เพื่อคัดเลือกรายชื่อนักเตะที่เข้าข่ายตรงตามสเปคมาให้เลือกในภายหลัง

โควต้าเอเชียอย่าง เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ขึ้นชื่ออยู่แล้วในเรื่องของระเบียบวินัย ทำให้ได้เปรียบชาติอื่นๆ ในการเช็คโปรไฟล์เรื่องการใช้ชีวิตนอกสนาม แต่เรื่องของกำแพงภาษาที่ใช้สื่อสารก็ต้องนำเอามาคิดด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการระบุไปด้วยว่า หากนักเตะรายไหนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะถูกพิจารณาเป็นพิเศษ

ไม่มีคำอธิบาย

สำหรับนักเตะญี่ปุ่น การที่พวกเขามีลีกอาชีพที่แข็งแกร่งเป็นเบอร์ต้นๆ ในเอเชียอย่าง เจ ลีก และมีลีกรองลงไปให้เลือกในการค้าแข้ง ซึ่งมีความแข็งแกร่งทัดเทียมกับ ไทย ลีก โอกาสที่นักเตะเกรดท็อปๆ จะย้ายมาเล่นนอกประเทศย่อมเป็นเรื่องยากเอามากๆ ซึ่งเบอร์ใหญ่ที่สุดเท่ที่เคยมีมาในช่วง 10 ปีหลัง คงหนีไม่พ้น ไดกิ อิวามาสะ ที่ย้ายมาอยู่กับ โปลิศ เทโร ช่วงสั้นๆ ในช่วงบั้นปลายการค้าแข้ง

ด้านนักเตะจากประเทศเกาหลีใต้ หากมองคุณภาพฝีเท้าจากลีกอาชีพของพวกเขาเป็นเกณฑ์ ต้องยอมรับว่า อาจดูเป็นรอง ลีกอาชีพแดนปลาดิบ อยู่พอสมควร บวกกับเงื่อนไขเรื่องของการเกณฑ์ทหารที่ยากจะหลีกเลี่ยง ส่งผลให้หลายสโมสรจำเป็นต้องชั่นน้ำหนักหลายด้าน ยกตัวอย่าง เช่น จอง ฮัน-ชอล กองหลังตัวหลักจาก ขอนแก่น ยูไนเต็ด ที่ต้องกลับบ้านเกิดจากภารกิจรับใช้ชาติ

ไม่มีคำอธิบาย

ซึ่งโปรไฟล์ส่วนใหญ่และเงื่อนไขที่ถูกระบุไปหาเอเย่นต์ จะเป็นคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

  1. นักเตะที่ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว ต้องมีโปรไฟล์ผ่านการลงเล่นลีกอาชีพโดยเฉพาะ เค ลีก 1 อายุจะอยู่ช่วง 29-31 ปี
  2. นักเตะที่ยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร อายุไม่เกิน 27 ปี ยังไม่ผ่านการเล่น เค ลีก (ต้องการเก็บโปรไฟล์การค้าแข้ง) เพื่อเตรียมทำเรื่องย้ายกลับไปยัง เค ลีก ในอนาคต ซึ่งถ้าผ่านจะได้รับสิทธิพิเศษเรื่องการเกณฑ์ทหารบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เคสของ จอง ฮัน-ซอล กองหลังของ ขอนแก่น ยูไนเต็ด ที่มาไทย ตั้งแต่อายุ 25 ปี แล้วมีความทะเยอทะยานในการเล่นสูง เพื่อหวังให้ทีมบ้านเกิดสนใจดึงตัวกลับในอนาคต

โดยเมื่อเทียบเรื่องของค่าจ้างเพิ่มเติม นักเตะเกาหลี ค่าเหนื่อยจะต่ำกว่า นักเตะญี่ปุ่น เล็กน้อย ซึ่งผู้เล่นที่รับค่าจ้างแพงสุดรับอยู่ที่ประมาณ 7 หลักต้นๆ เท่านั้น ส่วนทางนักเตะจากแดนปลาดิบบางรายที่พอจะมีชื่อหรือโปรไฟล์ดี ค่าจ้างจะทะลุเกินหลัก 1 ล้านบาท

วู กึน-ยอง' เผยความลับ 'เกาหลีใต้'  ทำอย่างไรถึงผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 2002 | Think Curve -  คิดไซด์โค้ง

ไม่น่าแปลกใจที่ 10 ปีหลังที่ผ่านมา นักเตะจากเกาหลีใต้ จะได้รับความนิยมมากกว่าในการมาค้าแข้งบนเวที ไทย ลีก ซึ่งมีจำนวนรวมกันมากถึง 66 คน ส่วนนักเตะจากประเทศญี่ปุ่น เทียบกันแล้วมาค้าแข้งยังแดนสยามเพียงแค่ 40 คนเท่านั้น

ประโยชน์ทางอ้อม

นอกจากนี้นอกจากประโยชน์ในเรื่องของการค้าแข้ง ไม่ว่าจะเป็น ศักยภาพ, วินัย และ ค่าแรง ที่ต่ำกว่า นักเตะญี่ปุ่น แล้ว เรื่องของผลพวงทางอ้อมเรื่องของการตลาดก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะกระแส เกาหลีฟีเวอร์ ในบ้านเรานั้นแรงขึ้นเรื่อยๆ แบบต่อเนื่อง เป็นเพราะอิทธิพลจากสื่อบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีรีย์, ภาพยนตร์ หรือวงการเพลง K-pop ที่มีแฟนคลับจำนวนมากในบ้านเรา

พอรูปลักษณ์ของนักฟุตบอลเกาหลีใต้ สามารถขายได้สไตล์ ‘โอปป้า’ เรื่องของการตลาดขายเสื้อ หรือนำมาเป็นพรีเซนเตอร์เรียกแขกของทีมก็มัดรวมอยู่ในแพ็คเกจค่าจ้าง ที่จ่ายแบบเหมารวมกับอาชีพฟุตบอลไปด้วย

คิม จี มิน Archives -

โดยทางเอเย่นต์ที่นำเข้านักเตะเกาหลีใต้ มายังประเทศไทย หลายราย กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

“ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ฟุตบอล คือ ธุรกิจ อะไรที่สามารถเชื่อมได้ มันก็คือเงินหมด ถ้าถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับการตลาดมั้ยมันก็เกี่ยว พี่ตุ๊กไปแล้วประสบความสำเร็จมาก ศศลักษณ์ไป ก็เป็นการปูทางให้กับคนอื่นๆ”

“นักบอลคนนึงไปต่างประเทศ มันไม่ได้ดูแค่เรื่องฝีเท้าในสนามอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่อง นิสัย และ พฤติกรรมของคนไทย ประกอบด้วย ซึ่งแม้พี(ศศลักษณ์)อาจจะไม่ได้ลงเยอะ แต่ด้วยสิ่งที่ฝากไว้ที่นั่น มันโอเคเลย…สำหรับการเปิดทางให้เพื่อนในอนาคต ไม่ใช่แค่วงการฟุตบอลอาชีพ แต่หมายรวมถึงธุรกิจฟุตบอล และกีฬาทุกประเภท”

แน่นอนว่าผลงานและความเป็นมืออาชีพที่นักเตะเกาหลีใต้หลายราย เคยมาฝากไว้ที่ประเทศไทย ย่อมเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเปิดตลาดให้เพื่อนๆ ของพวกเขา ตามมากอบโกยรายได้และชื่อเสียงในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากพวกเขาเลือกที่จะอยู่สู้ในประเทศบ้านเกิดอาจไม่มีสิทธิ์ได้รับโอกาสนั้นเลย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

https://thinkcurve.co/hitaechngyiipun-okhwtaae-echiiyaithyliikthamaimaekhngekaahliiaitcchuengmaaeerngepn-no-1/

https://www.goal.com/th/ข่าว/ยอนรอยตำนานไทยลก--ไดก-อวามาสะ-ซามไรมงกรไฟ/cllgr7jy7qvo1enb5i503reft

https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_foreign_Thai_League_1_players?fbclid=IwAR0sYRu72kDQvuRSHwwuLpks7hvjICxjVf-2QJCCaSgPsbFuGDa8UW_LQro

แชร์บทความนี้
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ