กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ : เพราะอะไรยักษ์ลีกจีนจึงตกชั้นและเข้าสู่ขาลงเต็มระบบ

กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ : เพราะอะไรยักษ์ลีกจีนจึงตกชั้นและเข้าสู่ขาลงเต็มระบบ
ชยันธร ใจมูล

กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ เคยประกาศจะทำสโมสรให้ยิ่งใหญ่เหมือนกับ แมนฯ ยูไนเต็ด หรือ เปแอสเช ในช่วงปี 2014  ซึ่งแม้จะทำไม่ได้แต่พวกเขาก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการทุ่มซื้อนักเตะ รวมถึงการคว้าเเชมป์ลีกจีน 8 สมัย และแชมป์เอเชียอีก 2 สมัย

อย่างไรก็ตามตอนนี้พวกเขาเปลี่ยนชื่อเป็น กวางโจว เอฟซี และจากทีมระดับแชมป์กลายเป็นทีมที่ต้องตกชั้นไปเล่นในระดับลีกรองเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว

ความยิ่งใหญ่ที่หมดไปดื้อ ๆ นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ติดตามที่ Think Curve - คิดไซด์โค้ง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : เป้าที่ไม่ได้ตั้งเล่น ๆ : ญี่ปุ่น จะทำอะไรต่อเพื่อแผนเป็นแชมป์โลกปี 2050 ?

เป้าที่ไม่ได้ตั้งเล่น ๆ : ญี่ปุ่น จะทำอะไรต่อเพื่อแผนเป็นแชมป์โลกปี 2050 ? | Think Curve - คิดไซด์โค้ง
| Think Curve - คิดไซด์โค้ง “ผมเบื่อที่จะได้ยินเรื่องการเป็น “ผู้แพ้ที่ยอดเยี่ยม” ผมอยากจะเป็นผู้ชนะมากกว่าเป็นผู้แพ้ที่ดี” มายะ โยชิดะ กัปตันทีมชาติ กล่าวหลังเกมพ่ายโครเอเชีย

กำเนิดเทพเเดนมังกร

ฟุตบอลลีก คือฐานความแข็งแกร่งของทีมชาติ ลีกที่ดีย่อมสร้างนักเตะที่แข็งแกร่ง หลายประเทศเป็นเช่นนั้น แต่ไม่ใช่ที่ประเทศจีน

จีน ไม่ใช่ชาติที่ประสบความสำเร็จด้านฟุตบอล ทั้งระดับนานาชาติและระดับทวีป คุณภาพของลีกไม่แข็งแกร่งเท่ากับกราฟการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึงการเป็นชาติที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

จริงอยู่ที่มันอาจจะเป็นเรื่องที่เอามาเปรียบเทียบกันตรง ๆ ไม่ได้ เพราะฟุตบอลกับเศรษฐกิจมีบริบทที่ต่างกัน ทว่าทุกคนต่างรู้ดีว่าในช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านี้ ทีมจากจีนไม่ใช่สโมสรที่เป็นตัวเต็งหรือทำได้ดีในการแข่งขันระดับทวีปเลย พวกเขาเป็นได้เพียงไม้ประดับเท่านั้น และในนามทีมชาติพวกเขาก็ยังคงตามหลังบ้านใกล้เรือนเคียงอย่าง ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ อยู่พอสมควร

Photo : BeSoccer

ทว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่โดนมองข้าม รัฐบาลจีนในยุคของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง คือตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนให้ทีมในลีกนี้กลายเป็นพี่บิ๊กระดับทวีป ซึ่งถ้าหากทำได้ มันจะเป็นเหมือนกับโดมิโนเอฟเฟ็กต์ ที่ทำให้คุณภาพของทีมชาติจีนดีขึ้นไปด้วย เพราะเมื่อลีกแกร่ง นักเตะท้องถิ่นก็เก่งขึ้นเป็นเงาตามตัว

ปี 2014 ท่านประธานาธิบดี สี เริ่มวางวิสัยทัศน์ เขาผลักดันนโยบายที่มีชื่อว่า "A 50-point plan" เพื่อทำให้ประเทศจีนกลายเป็นพี่บิ๊กด้านฟุตบอลของทวีปเอเชีย

"ฟุตบอลคือเกมที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายของผู้คน สร้างแรงบันดาลใจได้มากอย่างเหลือเชื่อ และที่สำคัญคือ สามารถสร้างจิตวิญญาณนักสู้ให้ลุกโชน ดังนั้นความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผมสำหรับวงการฟุตบอลจีน คือการได้เห็นเราเป็นทีมที่ดีที่สุดในโลก"

ท่านประธานาธิบดีว่าไว้ก่อนที่นโยบายของเขาจะถูกริเริ่ม มีการสร้างศูนย์ฝึกเยาวชนในหลาย ๆ ที่ ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ การสร้างฟุตบอลลีก ด้วย หลักจากคำสั่งนั้น และหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในจีนก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้ภายใต้ชื่อ กวางโจว เอเวอร์แกรนด์

สโมสรมหาเทพ

เดิมทีสโมสรในลีกจีนมีสถานะเป็นกึ่งรัฐกึ่งเอกชน แต่ละทีมต่างมีภาคเอกชนหนุนหลัง แต่มีทีมหนึ่งที่พิเศษกว่าใคร ... และกวางโจว เอเวอร์แกรนด์ ที่มีเจ้าของเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่  “เอเวอร์แกรนด์” (Evergrande Real Estate Group) ที่เข้ามาเทคโอเวอร์จากเจ้าของเดิมที่ชื่อว่า กลุ่มธุรกิจอพอลโล (Apollo Group) ว่ากันว่าเป็นเงินก้อนโตระดับ 100 ล้านหยวน เลยทีเดียว

แม้การมาทำฟุตบอลอาจจะทำให้พวกเขาได้กำไรน้อยมาก แต่สิ่งที่ภาคเอกชนจะได้คือการได้คอนเน็กชันในภาครัฐ เปรียบเทียบภาพง่าย ๆ พวกเขาเป็นเหมือนผู้สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของฟุตบอล แต่ต้องการผลลัพธ์ในแง่บวกสำหรับธุรกิจหลักของตัวเองมากกว่า

Photo : BeSoccer

ลีกจีนไม่มีการใช้กฎทางการเงิน (FFP) แบบยุโรป ทำให้ กวางโจว สามารถซื้อนักเตะระดับท็อป ๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าพวกเขาจะซื้อได้ หนำซ้ำ รัฐบาลจีน ยังช่วยให้การลงทุนกับฟุตบอลของภาคเอกชนมีความเสี่ยงน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลจีนเพิ่มรายได้ให้กับลีก ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอล ไชนีส ซูเปอร์ลีก ด้วยเงิน 8 พันล้านหยวน (ราว 41,000 ล้านบาท) เป็นต้น

กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ โดดเด่นตั้งแต่วันนั้น คว้าตัวนักเตะอย่าง เปาลินโญ่, แจ็คสัน มาร์ตินเนซ รวมถึงด้วยราคาสูงถึง 100 ล้านยูโร นอกจากนี้ยังมีรายย่อย ๆ อัดค่าเหนื่อยหนัก ๆ อีกมากมายทั้ง ทาลิสก้า, ริคาร์โด้ กูลาร์ท, อัลลาน, ลูคัส บาร์ริออส และ ดาริโอ กอนก้า เป็นต้น ซึ่งนักเตะเหล่านี้แปลงมาเป็นแชมป์ลีกสูงสุด 8 สมัย และแชมป์ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก อีก 2 สมัย

พวกเขาสร้างความตื่นเต้นในทุกตลาดซื้อขายชนิดที่ทีมจากยุโรปยังได้แต่มองตาปริบ ๆ ทว่าช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่กับไม่สามารถอยู่ได้อย่างจีรัง ที่สุดเเล้ว ช่วงเวลาขาลงของ กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ ก็มาถึงและหนักจนถึงขั้นตกชั้นเลยทีเดียว

เปลี่ยนนโยบายตายสนิท

ทุกอย่างดูดีไปหมด มองอะไรก็เป็นแง่บวก แต่ในขณะนั้นความเสี่ยงก็เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน และเป็นความเสี่ยงที่หลายคนยังไม่รู้ตัว...

ลีกเริ่มแข็งแกร่งแล้ว คนเริ่มเยอะ แถมยังประสบความสำเร็จในระดับทวีป มีอะไรให้ต้องเป็นห่วงอีก ? คำตอบคือ มันไม่ตรงตามวิสัยทัศน์และนโยบายที่วางไว้แต่แรกนั่นเอง

Photo : xinhuanet

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการลงทุนของรัฐบาลจีนไม่ได้ทำให้คนจีนเก่งขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นในแง่ของภาพรวม แต่กลับกลายเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่สามารถเข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แบบได้น้ำได้เนื้อ ถือว่าผิดอย่างแรงและขัดต่อวิสัยทัศน์ China First (จีนต้องมาก่อน) ที่รัฐบาลจีนพยายามผลักดัน จนกระทั่งในฤดูกาล 2019  จีนจึงพยายามสร้างแนวทางใหม่

พวกเขาจะทำให้ทุกทีมใช้จ่ายกับนักเตะต่างชาติน้อยลง รัฐบาลจีนออกกฎห้ามสโมสรใช้ชื่อสปอนเซอร์ต่อท้ายชื่อทีม  สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้สนับสนุนลีกจีนทั้งหลายเริ่มคิดหนักเพราะ เงินก็โดนตัด ชื่อก็ไม่ได้ใช้ โฆษณาก็ไม่ได้ขาย แถมชื่อเสียงก็ลดลง

โดยเฉพาะกวางโจว เอเวอร์แกรนด์ ที่บริษัทแม่อย่าง อเวอแกรนด์ มีข่าวแพร่สะพัดว่า บริษัทเอเวอร์แกรนด์มีหนี้สินล้นพ้นตัวถึง 305,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถูกนับเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้มากที่สุดในโลก และอาจจะผิดนัดชำระหนี้จนถึงขั้นต้องล้มละลายลง ซึ่งนั่นเองก็ทำให้ กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ หรือ กวางโจว เอฟซี (ชื่อใหม่ตามกฎของรัฐบาลจีน) ต้องประสบปัญหาปล่อยนักเตะสำคัญ ๆ ออกไปเป็นจำนวนมากในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ไหนจะเรื่องปัญหาการระบาดของโควิดที่กระทบเศรษฐกิจโดยตรง และทีมที่เอกชนแบกอยู่ตลอดอย่าง กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ ต้องเผชิญกับความตกต่ำ และตกชั้นไปในท้ายที่สุด  

แหล่งอ้างอิง

www.espn.com/soccer/chinese-super-league/story/4326781/how-the-chinese-super-league-bubble-burst  

https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-4920780/Chinese-Super-League-Rise-fall-stall.html

https://www.theguardian.com/football/2021/mar/02/china-crisis-jiangsu-demise-wider-football-struggle

https://www.france24.com/en/live-news/20210419-champions-demise-haunts-diminished-chinese-super-league

https://www.goal.com/en/news/boom-bust-what-happened-oscar-tevez-chinese-super-league/mv5b8yg0qkoy1ieanvk7scf0c

https://theconversation.com/why-the-era-of-chinese-football-clubs-splashing-big-money-on-international-stars-is-over-110112

https://www.theguardian.com/football/these-football-times/2017/jan/05/china-chinese-super-league-oscar-carlos-tevez

https://www.fourfourtwo.com/features/chinas-football-masterplan-why-theres-much-more-it-stellar-signings

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ