Nordic Mentality : การ ‘ใช้ชีวิต’ ที่ทำให้นักเตะนอร์เวย์ดู ‘ไนซ์’ อยู่ไหนก็มีแต่คนรัก
มีเรื่องหนึ่งที่น่าสงสัยนั่นก็คือทำไมนักเตะจากประเทศนอร์เวย์ มักถูกจดจำว่าเป็น "ไนซ์กาย" ในวงการฟุตบอล ?
ทั้งรุ่นเก่า ๆ อย่าง โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์, โทเร่ อังเดร โฟล, มอร์เท่น กัมพ์ พีเดอร์เซ่น จนกระทั่งรุ่นใหม่ ๆ อย่าง มาร์ติน โอเดการ์ด และ เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ นักเตะพวกนี้ไม่เคยสร้างปัญหาและเป็นที่รักของเพื่อนร่วมทีมและแฟนบอลแทบทั้งสิ้น
เรื่องทั้งหมดต้องย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดของพวกเขา มันคือสิ่งที่เรียกว่า "Nordic Mentality" พวกเขาลืมตามาดูโลกและใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งนั้น และมันหล่อหลอมให้พวกเขากลายเป็นนักเตะที่ดีและมนุษย์ที่ยอดเยี่ยมในเวลาเดียวกัน
นี่คือต้นกำเนิดของถามนี้ ติดตามที่ Think Curve - คิดไซด์โค้ง
มีทางเลือกตั้งแต่ลืมตาดูโลก
ประการเเรกเลยคือเมื่อลืมตาดูโลกเหล่าเด็ก ๆ ชาวนอร์เวย์ หรือกลุ่มชาติสแกดิเนเวียน (นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, เดนมาร์ก และ ไอซ์แลนด์) จะได้รับสิ่งหนึ่งทันทีนั่นคือคำว่ารัฐสวัสดิการ
รัฐสวัสดิการ คือ การที่รัฐบาลจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนของตนโดยวิธีการต่าง ๆ โดยรัฐจะเป็นคนดูแลจัดหาสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้ครอบคลุมประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทั้งการศึกษา การรักษาพยาบาล และคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ
กล่าวคือเมื่อลืมตาดูโลกพวกเขาจะถูกดูแลโดยรัฐอย่างเต็มที่จนถึงวันที่พวกเขาจากโลกใบนี้ไป พูดแบบนี้คงจะเห็นภาพยากไปหน่อย เพื่อให้เขาใจง่ายกว่าและเข้ากับหัวเรื่องนั่นก็คือเด็ก ๆ ทุกคน จะได้รับการดูเเลเรื่องของค่าใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ชีวิตจากรัฐ อย่างเช่น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ทำให้เเต่ละครอบครัวไม่ต้องดิ้นรนเพื่อหารายได้มาสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้
เเละรายได้ขั้นพื้นฐานของเเต่ละอาชีพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่มากพอสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กๆไม่มีข้อจำกัดหรือความกดดันในการเลือกประกอบอาชีพ…. สามารถเลือกประกอบอาชีพในสิ่งที่ตัวเองถนัด เเละโฟกัสไปที่สิ่งนั้นได้เลย อย่างเช่น นักฟุตบอล เป็นต้น
อากาศเเละวัฒนธรรม
ประการที่สองด้วยความที่เป็นประเทศเเถบหนาว มีอากาศหนาวตลอดทั้งปีเเละมีฤดูร้อนเพียงเเค่ช่วงสั้นๆ ทำให้เรื่องนี้ส่งผลต่อนิสัยของคนในประเทศโดยตรง มันทำให้พวกเขาใจเย็น เเละเป็นพวกที่คิดก่อนพูด หรือพูดน้อย คนชาวสเเกดิเนเวียนจะมีความสุขุม เยือกเย็น เเละนิ่งต่อสถานการณ์ต่างๆได้มากกว่าเมื่อเทียบกับคนชาติอื่นๆ
เเละถึงเเม้อากาศจะหนาวตลอดทั้งปี เเต่พวกเขายังอยู่ในลิสต์หนึ่งใน 10 ประเทศ ที่สุขภาพดีที่สุดในโลก โดยที่ 79 % ของประชากรในเเถบนี้ ทุกคนเล่นกีฬาอย่างน้อยหนึ่งอย่างเป็นประจำ จะเห็นได้ว่าเกือบทุกคนที่ให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมกลางเเจ้ง
“มันไม่ใช่อากาศหรอกที่ไม่ดี เเต่เป็นเสื้อผ้าของพวกคุณต่างหาก” นี้คือวลีสุดฮิตที่ผู้คนในประเทศเเถบนี้มักจะใช้หยอกล้อกัน
เราจะเห็นได้ว่าพวกเขาถูกสอนมาให้รู้จักรับมือเเละปรับตัวกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่าที่จะบ่นถึงสิ่งที่เเก้ไขไม่ได้ เเละดื่มด่ำกับสิ่งที่ธรรมชาติมีให้เรา
การใช้ชีวิตในอากาศหนาว ออกมาทำกิจกรรมกลางเเจ้งถึงเเม้ว่าอากาศจะไม่อำนวย การไปซาวน่า การกินอาหารดีๆจะทำให้ร่างกายอบอุ่น การปรับตัวใช้ชีวิตกับสิ่งเหล่านี้ถูกสอนกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ด้วยความที่มีอากาศหนาวตลอดทั้งปี มันส่งผลกับฟุตบอลโดยตรง เพราะอย่างที่เรารู้ๆกันว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญหลังจากนักฟุตบอลลงสนามเสร็จก็คือ การเเช่น้ำเเข็ง เเล้วใครจะอยากลงไปเเช่น้ำเเข็งในตอนที่อากาศกำลังติดลบห้าองศาบ้างล่ะ?
ถึงเเม้จะไม่อยากเเต่มันคือสิ่งที่พวกเขาต้องทำ เหมือนเป็นการขัดเกลานิสัยไปในตัว ให้รู้จักปรับตัวเเละผ่านอุปสรรคที่อยู่ตรงหน้าให้ได้
เเละด้วยความที่ต้องอยู่เเละรับมือกับธรรมชาติที่หนาวเหน็บ พวกเขายังสามารถปรับตัวเเละทำกิจกรรมร่วมกันได้ ทำให้เด็กจากทวีปแถบนี้ ปรับตัวเข้ากับสถานที่ใหม่ๆได้อย่างง่ายดาย เเละ มีกระบวนการคิดเเละวิธีเเก้ปัญหา ต่างจากเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน มีการทำงานร่วมกันเพื่อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสกิลอย่างหนึ่งที่สำคัญมากในการเล่นกีฬาเป็นทีมอย่างเช่น ฟุตบอล
เป็นเหตุผลให้นักฟุตบอลจากประเทศในเเถบนี้มีความอดทนเเละสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ตรงหน้าได้ดี ทำให้พวกเขามักจะเป็นนักฟุตบอลที่ถูกส่งออกนอกประเทศตั้งเเต่ยังเด็ก
การออกนอกประเทศตั้งเเต่เด็ก
ด้วยสกิลการปรับตัวที่ดีพวกเขา ทำให้นักฟุตบอลเยาวชนที่มีฝีมือของประเทศในเเถบนี้มักจะถูกจับจองโดยทีมใหญ่ๆของยุโรปตั้งเเต่อายุน้อยๆ
มาร์ติน โอเดการ์ด ย้ายไป เรอัล มาดริด ตั้งเเต่อายุ 16 ถึงเเม้จะไม่ประสบความสำเร็จที่ซานติอาโก เบอร์นาเบว เเต่มันก็ช่วยขัดเกลาให้เขากลายเป็นนักเตะที่ดี เเละก้าวขึ้นมาเป็นกัปตันทีมของอาร์เซน่อลตั้งเเต่อายุยังน้อย
เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ ย้ายไปเล่นในออสเตรียตั้งเเต่อายุ 18 กับ เรดบูล ซัลซ์บวร์ก ก่อนจะไปต่อที่เยอรมัน เเล้วมากลายร่างเป็นปีศาจที่เเมนเชสเตอร์ ซิตี้ อย่างเต็มตัว
ข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านอย่างสวีเดน ก็มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ซลาตัน อิบราฮิโมวิช ที่ออกจากสวีเดนไปเล่นกับอาเเจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ตั้งเต่ อายุ 20 จนปัจจุบันยังเล่นฟุตบอลระดับสูงกับเอซี มิลาน ในวัย 41 ปี
การที่ต้องจากบ้านมาไกลตั้งเเต่ยังเด็กๆช่วยทำให้พวกเขามีความเป็นมืออาชีพสูง มีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าการออกมาห่างไกลบ้านเกิดคือการทำงานเพื่ออนาคต
เพราะมันต้องเเลกมาด้วยความเหงา ความห่างไกลครอบครัว ทำให้พวกเขาไม่ยอมปล่อยโอกาสเหล่านี้ให้ผ่านไปโดยเสียเปล่า ทำงานเเละอดทนเพื่อรอโอกาสที่จะมาถึงด้วยความเเน่วเเน่ ไม่หลงไปกับเเสงสีหรืออบายมุขต่างๆนอกสนาม
มีเเบบอย่างที่ดีเเละความเท่าเทียม
ถ้าคุณไปเดินตามท้องถนนเเละถามคนนอร์เวย์ว่า พวกเขาเชียร์ทีมอะไร? ผู้คนมักจะตอบคุณออกมาสองทีมเสมอ เป็นทีมบ้านเกิดของพวกเขาเเละเป็นอีกหนึ่งทีมในพรีเมียร์ลีก พวกเขาชอบฟุตบอลอังกฤษมากถึงกับมี วัน ‘บ็อกซิ่ง เดย์’ เป็นของตัวเอง
ที่อังกฤษ วัน บ็อกซิ่ง เดย์ จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปี เพื่อฉลองเทศกาลเปิดกล่องของขวัญหลังวันคริสต์มาส ทุกทีมจะทำการลงเเข่งขันเพื่อเป็นของขวัญให้กับเเฟนบอล เป็นวัฒนธรรมที่ทำกันมาอย่างยาวนาน
ถือเป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ เป็นวันพักผ่อนที่คนอังกฤษตั้งตารอคอยเพื่อจะได้ดูทีมรักลงเเข่งขัน ที่นอร์เวย์เองก็ไม่ต่าง
เเต่วัน บ็อกซิ่ง เดย์ ของคนนอร์เวย์ จะถูกจัดขึ้นวันที่ 16 พฤษภาคมของทุกปี ในบ่ายวันหยุดรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ ทุกทีมจะทำการลงเเข่งขันเช่นเดียวกัน
เเละอย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า มีนักเตะจากนอร์เวย์มากมายที่มาประสบความสำเร็จในฟุตบอลอังกฤษ ทั้ง โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์, โทเร่ อังเดร โฟล, มอร์เท่น กัมพ์ พีเดอร์เซ่น พวกเขาเหล่านี้ คือเเรงบันดาลใจเเละเครื่องเตือนใจที่ดีเเก่นักเตะรุ่นหลังๆ ว่าถ้าคุณมีความพยายามมากพอ คุณจะประสบกความสำเร็จในหนึ่งในลีกที่ดีที่สุดของโลกได้อย่างเเน่นอน ทำให้พวกเขาพร้อมที่จะ ก้มหน้า ก้มตา ทำงานหนัก
เเละไม่ใช่เพียงเเค่นักฟุตบอลชายเท่านั้นที่เป็นเเรงบันดาลใจ นักฟุตบอลหญิงก็มีเช่นกัน เพราะ เอด้า เฮเกอร์เบิร์ก เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร์ นักฟุตบอลหญิง ปี 2018 เเละเจ้าของสถิติทำประตูมากที่สุดใน ยูฟ่า เเชมเปียนส์ ลีก วีเมนส์ ที่จำนวน 59 ประตู ก็เป็นคนนอร์เวย์ด้วย
เธอกลายเป็นไอดอลให้ผู้ชายหลายๆคนได้เลยก็ว่าได้ เพราะที่นอร์เวย์นั้นถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศหรือเชื้อชาติ
นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่เหมาะมากๆสำหรับผู้หญิงที่หลงรักในฟุตบอล เพราะฟุตบอลไม่ใช่สำหรับผู้ชายเเต่ยังรวมไปถึงผู้หญิงด้วย มีการบันทึกไว้ว่ามีนักฟุตบอลอาชีพที่เป็นผู้หญิงกว่าหนึ่งเเสนคนในประเทศนอร์เวย์ เเถมเวลาเเข่งขันก็มีแแฟนบอลเข้าชมเกมการเเข่งขันถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว
เท่านั้นยังไม่พอในเเง่ของกฎหมายในนอร์เวย์ เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 40% ในบอร์ดบริหาร
จะเห็นได้ว่าคนนอร์เวย์นั้นให้ความสำคัญของความเท่าเทียมมากๆ สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังกันมาตั้งเเต่ยังเล็กๆ ทั้งในเรื่องของกีฬาเเละการทำงานอื่นๆ
ทำให้เราไม่เคยนักฟุตบอลจากประเทศนอร์เวย์มีปัญหาเรื่องการเหยียดเพศหรือเหยียดเชื้อชาติมากเท่าไหร่นัก พวกเขามองทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ อย่างเท่าเทียมเเละยินดีจะอยู่ร่วมกัน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โรนัลโด้ - เมนเดส : ความสัมพันธ์ 20 ปีที่ขาดสะบั้น เพราะความเห็นไม่ตรงกัน
โรนัลโด้ ซบ อัล นาสเซอร์ : เปิดรายละเอียดดีลระยะสัญญาค่าเหนื่อยเท่าไหร่ ?
นอกจากเป็นเจ้าภาพที่ผลงานแย่ที่สุด "กาตาร์" ได้อะไรจากบอลโลก 2022 บ้าง ?
เเหล่งอ้างอิง
https://www.lifeinnorway.net/norwegian-football/
https://unsetpieces.blog/nordic-mentality-why-scandinavian-countries-are-so-good/
https://www.immigration-residency.com/scandinavian-lifestyle/
https://www.consultingcheck.com/en/topics/scandinavian-mentality/5997/
ข่าวและบทความล่าสุด
RELATED BY AUTHOR