ฤดูกาลที่แตกต่าง : เปิดโมเดลวิธีการหาเงินของ 16 ทีมไทยลีกซีซั่นนี้

ข้อสรุปของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอล ไทยลีก ฤดูกาลนี้ เคาะออกมาหลักๆ แล้วว่า สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จะดำเนินการจัดการเรื่องสัญญาณถ่ายทอดสดให้เช่นเดิม ตามงบประมาณที่เหลือในการบริหารที่เตรียมไว้
เพียงแต่ว่า ‘ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด’ มูลค่าจะเป็น 0 บาท ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่ทางสมาชิกสโมสร ไทยลีก ทั้ง 16 ทีม ต้องพยายามวิ่งไปหาลูกค้าให้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกรายปี ที่ต้องจ่ายเงินตามแพ็คเกจปีละ 500 บาท หรือรายเดือนปีละ 59 บาทที่เป็นราคากลางกันเอง
โดยมีช่องทางการถ่ายทอดสดแบบ OTT หรือช่องทางออนไลน์ ให้กระจายทั้งหมด 3 เจ้า คือ ทรู, เอไอเอส และ 3BB เพื่อสมัคเป็นสมาชิกตามเครือข่ายโทรศัพท์หรือฐานลูกค้าต่างๆ ส่วนช่องทาง ฟรี ทีวี มีสถานีที่พร้อมถ่ายทอดสด คือ ททบ.5 และ PPTV ที่ราคาค่าเช่าช่วงเวลาพอจะจ่ายไหว แล้วต้องไปลุ้นเรื่องเงินสปอนเซอร์จากการโฆษณามาเป็นรายได้ต่ออีกทางหนึ่ง

หมายความว่ารายได้หลักของแต่ละสโมสร ต้องมาจากช่องทางออนไลน์ ซึ่งแต่ละทีมจำเป็นต้องโปรโมทเพื่อหาจำนวนสมาชิกให้มาสมัครแพ็คเกจค่าเฉลี่ยสโมสรละ 20,000 เมมเบอร์ จึงจะมีรายได้เข้ากระเป๋าเป็นเงินกองกลาง 9 ล้านบาท แบ่งเป็นการจ่ายเข้าสโมสร 90 เปอร์เซ็นต์ อีก 10 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นค่าจัดการของบริษัทที่ดำเนินการถ่ายทอดสดทั้ง 3 เจ้าที่กล่าวไปข้างต้น
สถานการณ์ปัจจุบันตอนนี้ 3 ทีมยักษ์ใหญ่ทั้ง บีจี ปทุม ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ การท่าเรือ เอฟซี ทำการซื้อเมมเบอร์ล่วงหน้าไปแล้วสโมสรละ 20,000 เมมเบอร์ เพื่อนำไปบริหารจัดการด้วยตนเอง แล้วจะไม่ขอรับเงินส่วนแบ่งก้อนแรกราว 27 ล้านบาท เพื่อกระจายรายได้ทั้งหมดไปยังอีก 13 สโมสร
อย่างไรก็ตามโมเดลธุรกิจตรงนี้ทาง เจ-วรปัฐ อรุณภักดี และ โค้ชโย่ง-วรวุธ ศรีมะฆะ ได้วิเคราะห์ภาพรวมที่จะเกิดขึ้นผ่านทางการไลฟ์สดทางช่อง คิดไซด์โค้ง เอาไว้ว่า
“การจัดการถ่ายทอดสดตอนนี้มันไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวแต่เป็น 3 เจ้า ตัวเลือกที่จะไปถึงสโมสรละ 20,000 เมมเบอร์อาจจะไปได้เร็วเพราะมีทางเลือกเยอะขึ้น แต่ถ้าโปรโมทเรื่องการตลาดไม่ดี ฤดูกาลกำลังจะเริ่มขึ้น โอกาสจะได้สมาชิกตามเป้านั้นไม่ง่าย”
“ถ้าหวังจะให้ได้เงินสนับสนุนทีมละ 20 ล้านบาท ต้องมียอดคนสมัครถึง 8 แสนกว่าคน แถมเมื่อการจัดการมันมีทั้งหมด 3 เจ้า ค่าส่วนแบ่งเดิมจาก 10 เปอร์เซ็นต์ จะเพิ่มไปเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ยังไงทุกสโมสรต้องพยายามดันให้ถึงเป้าให้ได้”

“แต่ข้อสรุปในห้องประชุมจากแต่ละสโมสรพอคุยไปคุยมาแล้ว โมเดลนี้อาจจะไปได้แต่ปีนี้อาจจะไม่สำเร็จ ดังนั้นจึงวางเป้าไว้แค่ว่าให้เงินตกถึงสโมสรทีมละ 7-8 ล้านบาทก็แฮปปี้แล้ว จึงกลับมาที่เป้าการหาเมมเบอร์ทีมละ 20,000 ผู้สมัคร ถ้าได้ตามนี้ก็ดีถ้าเกินคือกำไร”
“การจะไปถึงเป้าหมายให้ได้ แต่ละสโมสรต้องพยายามอัพเดตข่าวสารของทีมให้มีความเคลื่อนไหวตามช่องทาง โซเชี่ยล มีเดีย เพิ่มมากขึ้นด้วยเพื่อช่วยกันปูพรมโปรโมท หาคนมาคิดคอนเทนท์นำเสนอขึ้นมา แล้วมันจะช่วยได้ในอนาคต”
ส่วนเรื่องของผู้บรรยายของแต่ละเจ้าจากทั้งสามบริษัท อาจจะมีโอกาสได้เห็นนักพากย์มาแจมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ถ้าเจ้าไหนต้องการสัญญาณสดแบบไม่มีเสียงบรรยายจากสนาม เรื่องของค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สโมสร ‘แตงโม’ : ตำนานแชมป์เงินล้านบอลเดินสายสองปีติดทีมเดียวในประเทศไทย
ศราวุฒิ มาสุข : กับชีวิตใหม่ในเส้นทางฟุตบอลเดินสาย
เทพนิยายภูธร : ‘สโมสร ดอนมูล’ ตำนานทีมระดับตำบลผู้พิชิตแชมป์ เอฟเอ คัพ
เมื่อครั้งหนึ่ง “อิชิอิ” เคยทำงานในโรงอาหาร หลังคว้ารองแชมป์สโมสรโลก
คล้ายตรงไหนบ้าง? : ศุภณัฏฐ์ นักเตะเงา โลซาโน่ ในสายตาสื่อต่างประเทศ
เวียดนามกร้าวก่อนซีเกมส์ : "4 ปีก่อน ทรุสซิเย่ร์ ก็เคยพาทีมเวียดนามยู 19 เอาชนะไทยมาแล้ว
เก่งในสนามไม่พอ : สาเหตุใด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถึงครองความยิ่งใหญ่ได้แบบยั่งยืน ?
บุรีรัมย์ ยังห่างแค่ไหน ? 10 สถิติไร้พ่ายนานที่สุดในโลก ณ ตอนนี้
คุณสมบัติอะไรที่ทำให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นทีมไร้พ่ายนานที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ ?
ข่าวและบทความล่าสุด
MOST POPULAR

แข้งราชวงศ์ทรงสตั๊ด : มีนักเตะคนไหนบ้างสืบสายเลือดมาจากกษัตริย์ ?

เกิดอะไรขึ้นกับ เดชพล จันศิริ ? เมื่อเจ้าของไทยหยุดให้เงินสนับสนุน เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์

ไปฟุตบอลโลกเองไม่ได้ ก็เป็นเจ้าภาพเลยละกัน?

เคลีก ออกกฎการเงินสุดเข้ม ห้ามสโมสรใช้เงินเกินรายรับในแต่ละปี

ไม่ใช่แค่ส่งลูกมา เทโร : เป้าหมายของราชวงศ์กัมพูชาในวงการฟุตบอลคืออะไร ?
