ขยายความเรื่องการ "ปรับตัว" : ไขปัจจัยแข้งต่างชาติเล่นในไทยลีกไม่โหดเท่าก่อนย้ายมา

ขยายความเรื่องการ "ปรับตัว" : ไขปัจจัยแข้งต่างชาติเล่นในไทยลีกไม่โหดเท่าก่อนย้ายมา
The NEXT COACH


เมื่อฟุตบอลเป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการขับเคลื่อน การเซ็นนักเตะใหม่เข้ามาในสภาพแวดล้อมใหม่ จึงจำเป็นต้องมีระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อให้ผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นร่วมกับเพื่อนร่วมทีม หรือแทคติกที่ทีมต้องการได้

ซึ่งระยะเวลาในการปรับตัวนั้นก็แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆของทีม โดยปัจจัยเหล่านี้มีอะไรบ้าง เดี๋ยวเราจะมาเจาะลึกรายละเอียดส่วนนี้กันครับ

เริ่มต้นจากพื้นฐานการเตรียมร่างกายนักกีฬา เราจะแบ่งออกเป็น3ช่วงได้แก่

1.Prepatory (ช่วงเตรียมตัว) 2.Compettitive (ช่วงการแข่งขัน) และ 3.Transition (ช่วงเปลี่ยนถ่าย)

ซึ่งแต่ละช่วงก็จะมีวิธีการฝึกซ้อมทั้งในเรื่องของสมรรถภาพ เรื่องเทคนิค และแทคติกที่แตกต่างกันออกไป

กว่านักกีฬาคนหนึ่งจะมีความพร้อมในการลงแข่งต้องผ่านการพรีซีซั่นในช่วงPrepatory (ช่วงเตรียมตัว) ที่จะเน้นในเรื่องของระบบหายใจ,การฝึกความทนทาน,ความแข็งแรงพื้นฐาน,ความแข็งแรงสูงสุด,สปีด,เทคนิค,แทคติก เป็นต้น

Photo : Goal

ดังนั้นการเซ็นนักเตะสักคนเข้าร่วมทีมในช่วงตลาดซื้อขายนักเตะรอบต่าง ๆ เราจะต้องประเมินปัจจัยหลายๆอย่างที่ส่งผลต่อความพร้อมในการลงเล่นของนักกีฬา

โดยเฉพาะนักกีฬาที่ย้ายมาในช่วงระหว่างซีซั่น ถ้าหากนักกีฬาไม่ได้มีทีมในการลงเล่นในช่วงเลกแรก กรณีนี้จะใช้เวลาปรับตัวนานที่สุด เพราะต้องให้นักกีฬาเริ่มเตรียมร่างกายด้วยการนับ1ใหม่ ต้องใช้เวลาในการเริ่มฝึกซ้อมสมรรถภาพเรื่องต่างๆ และต้องให้นักกีฬาค่อยๆมีเกมอุ่นเครื่องอยู่ทุกๆสัปดาห์ หรือลงไปเล่นเกมอุ่นเครื่องพร้อมกับผู้เล่นชุดเยาวชน เพื่อปรับความคุ้นชินกับแทคติก ซึ่งในกรณีนี้อาจจะต้องใช้เวลามากถึง 8-21สัปดาห์เลยทีเดียว

แต่ถ้านักกีฬามีสังกัด และได้ฝึกซ้อมช่วง Prepatory (ช่วงเตรียมตัว)กับต้นสังกัดเก่ามาแล้ว เขาอาจจะมีสภาพร่างกายที่พร้อมสมบูรณ์ ทำให้เราสามารถข้ามมาในช่วงที่2 นั่นคือช่วง Compettitive(ช่วงการแข่งขัน) ได้เลย

Photo : Goal

ซึ่งในช่วงนี้ก็จะเน้นในเรื่องของ สปีด,ความคล่องตัว,พาวเวอร์ และที่สำคัญคือการปรับตัวในเรื่องของความเข้าใจในแทคติกเป็นหลัก

ในช่วงนี้ถ้าหากนักกีฬาที่ต้นสังกัดเก่ามีวิธีการเล่นไม่คล้ายคลึงกับต้นสังกัดใหม่ เช่นทีมเก่าเล่นฟุตบอลแบบน้อยจังหวะ โยนยาว (Direct football) แต่ต้นสังกัดใหม่เล่นสไตล์ต่อบอลกับพื้น ครอบครองบอล(Ball possession) อาจจะทำให้เขาต้องใช้เวลาปรับตัวเรื่องแทคติกนานพอสมควร ในกรณีนี้จะใช้เวลาในการปรับตัวประมาณ4-8สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของนักเตะคนนั้น

แต่ถ้าหากว่านักกีฬาคนนั้นมาจากทีมที่มีวิธีการเล่นที่ใกล้เคียงกัน เช่นมาจากทีมเยาวชนของสโมสรนั้น หรือทีมพันธมิตรที่มีปรัชญาฟุตบอลเดียวกัน อาจจะทำให้นักเตะคนนั้นใช้เวลาในการปรับตัวกับแทคติกเพียงน้อยนิดเท่านั้น อาจจะใช้เพียงแค่1-4สัปดาห์ก็พร้อมที่จะลงเล่นกับต้นสังกัดใหม่ได้เลย

Photo : Football365

และก็ยังมีปัจจัยต่างๆมากมายที่ส่งผลต่อความรวดเร็วในการปรับตัวของนักกีฬา อาธิเช่น

-ภาษา

หากนักกีฬาไม่สามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมหรือสต๊าฟโค้ชได้ การปรับตัวทุกๆด้านคงจะยากลำบากมากยิ่งขึ้น

-วัฒนธรรม

ในแต่ละทีมหรือแต่ละประเทศล้วนมีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่ส่งผลมาถึงวิธีการเล่นหรือฝึกซ้อม

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนต้นตอจากวูชคิช : ทำไมนักเตะยุโรปตะวันออกจึงนิยมมาเล่นในไทยลีก ? | Think Curve - คิดไซด์โค้ง
Think Curve - คิดไซด์โค้ง เปิดตัวได้อย่างยิ่งใหญ่สำหรับ ฮาริส วูชคิช อดีตกองกลางทีมชาติสโลเวเนียของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หลังทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในนัดอุ่นเครื่อง รวมถึงนัดล่าสุดที่ยิง 1 จ่าย 2 ช่วยให้ปราสาทสายฟ้า ไล่ถล่ม กลันตัน เอฟซี จากมาเลเซียไปอย่างขาดลอย 7-0

-อาหาร

เรื่องอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ในการออกไปเล่นในต่างประเทศ หรือพื้นที่ห่างไกลที่นักกีฬาไม่คุ้นชินกับอาหารท้องถิ่น ทำให้โภชนาการที่ได้รับไม่เพียงพอต่อร่างกายที่ต้องนำไปใช้ในการฝึกซ้อม หรืออาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น นักกีฬาท้องเสียหรือปวดท้องเป็นประจำ

-ทัศนคติของนักกีฬา

ทัศนคติที่ดีหรือไม่ดี ล้วนส่งผลเป็นอย่างมากต่อการปรับตัวของนักกีฬาต่อต้นสังกัดใหม่ หากทัศนคติดีย่อมส่งผลให้นักกีฬาใช้เวลาในการปรับตัวน้อยกว่านักกีฬาที่ทัศนคติไม่ดี

Photo : Buriram United

-รูปร่างและวิธีการเล่น

ในแต่ละทีมหรือแต่ละลีกล้วนมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นรูปร่าง สรีระ และสไตล์การเล่นของนักกีฬาคนนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการปรับตัวกับทีมใหม่ของนักกีฬาคนนั้นด้วย

-ครอบครัว

การย้ายทีมใหม่ หมายความว่านักกีฬาต้องออกจากพื้นที่เดิมของตน เพื่อมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ใหม่ ซึ่งถ้าหากเป็นพื้นที่ที่ไกลจากพื้นที่เก่า นักกีฬาอาจจะต้องย้ายมาอยู่ด้วยตัวคนเดียว หรือบางคนอาจจะพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันเลย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็มีผลต่อสภาพจิตใจของนักเตะเป็นอย่างมาก

-การได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักเตะหรือโค้ช

อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อนักกีฬาเป็นอย่างมาก คือการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมทีมหรือโค้ช หากนักเตะคนนั้นมีผลงานที่ดีมาก่อน มีดีกรีติดตัว ย่อมได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักเตะมากกว่า

และนี่คือเรื่องทั้งหมดของการปรับตัว แน่นอนว่านักเตะทุกคนมีความสามารถและความถนัดในแบบเฉพาะของแต่ละคน ดังนั้นเรื่องระยะเวลาในการปรับตัวจึงสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าพวกเขาจะเก่งมาจากไหนก็ตาม แน่นอนว่าบางคนสามารถปรับตัวได้และปังสุด ๆ ขณะที่บางคนก็ปรับตัวไม่ไหวจนต้องย้ายออกไป ... เราต้องมาคอยดูกันต่อไปว่านักเตะใหม่ไทยลีกในซีซั่น 2023-24 จะมีใครปัง หรือ แป็ก บ้าง ?  อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ ไทยลีก ฤดูกาลใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

มาปุ๊ปร้อนปั๊ป : 7 แข้งไทยลีกที่ย้ายทีมเลก 2 แล้วปังทันที

เปิดกฎเวิร์คเพอร์มิตพรีเมียร์ลีก : ศุภณัฎฐ์ ไป เลสเตอร์ ได้จริงหรือ ?

ฟิลิป โรกิช : แข้งต่างชาติป้ายเเดง บุรีรัมย์ ที่เคยฮ็อตเตะตากุนซือ เชลซี

อ้างอิง

https://www.professionalsoccercoaching.com/aerobic-fitness-science/football-periodization

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1382

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ