อยู่ 2 ลีกนี้กันครึ่งทีม : ทำไมนักเตะ อิรัก มักค้าแข้งในลีก สวีเดน, เนเธอร์แลนด์ ?

อยู่ 2 ลีกนี้กันครึ่งทีม : ทำไมนักเตะ อิรัก มักค้าแข้งในลีก สวีเดน, เนเธอร์แลนด์ ?
ณัฐพล อ่วมเรืองศรี

ทีมชาติอิรักที่ถูกเชิญมาเล่นในศึกชิงแชมป์ถ้วยพระราชทาน คิงส์ คัพ ครั้งที่ 49 ที่ประเทศไทย ผู้เล่นที่พวกเขาเรียกมาติดทีมทั้งหมด 23 คน มีนักเตะถึง 8 ราย ที่ค้าแข้งอยู่ในลีกประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ สวีเดน ทั้งในลีกสูงสุดและลีกรอง

ยิ่งไปกว่านั้นนักเตะอาชีพในยุโรปหลายรายที่มีเชื้อสายอิรัก กลับมีสัญชาติที่สองเป็นชาติยุโรป แถมยังกระจายค้าแข้งอยู่ในทวีปดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสัยไม่น้อยว่าพวกเขาเหล่านั้นไปมีถิ่นฐานเริ่มต้นอยู่ตรงพิ้นที่นั้นได้เช่นไร? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ Think Curve - คิดไซด์โค้ง

ผลกระทบจากภาวะสงคราม

เป็นที่ทราบกันดีว่า อิรัก เป็นประเทศที่มีวิกฤติการด้านการเมืองและสงครามอยู่เป็นประจำ โดยมีปัญหากระทบกระทั่งกันเองในประเทศของกลุ่มก่อการร้าย, ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ ชาติมหาอำนาจในทวีปต่างๆ จนเกิดเป็นภาวะที่ประชาชนต้องขอลี้ภัยทางการเมือง

ช่วงที่ปัญหาต่างเริ่มหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ คือช่วงปี 2003 ที่มีชาวอิรักราว 36,700 คน ยื่นขอความช่วยเหลือเพื่อลี้ภัยทางการเมือง กว่าครึ่งนึงของจำนวนผู้ยื่นสมัครดังกล่าวราว 18,600 คน มีปลายทางเป็นประเทศในยุโรป รวมไปถึงประเทศ สวีเดน และ เนเธอร์แลนด์

PHOTO : Middle East Monitor

นับมาตั้งแต่ปี 2003 มาจนถึงปัจจุบัน มีชาวอิรักกว่า 38,000 คน ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแดนไวกิ้ง โดยกว่า 15,000 ราย ถูกอนุมัติคำร้องเพราะเหตุผลทางครอบครัว ที่มีญาติพี่น้องไปตั้งรกรากอยู่ประเทศดังกล่าวตั้งแต่ปัญหาเกิดขึ้น

ส่วนกรณีของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีประชากรทั้งประเทศรวมกว่า 17 ล้านคน มีชาวอิรักราว 0.3 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 60,000 คน อาศัยอยู่ในแดนกังหันลม แถมยังรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจนเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ

ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านเลยไปหลายยุคหลายสมัย กลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็มีการขยายเผ่าพันธุ์ มีลูกมีหลานกำเนิดขึ้นมาเพิ่มเติมตามยุคตามสมัย แล้วหนึ่งในอาชีพที่เป็นความใฝ่ฝันของเด็กๆ เหล่านั้น คือ การเติบโตขึ้นมาเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ซึ่งกลุ่มที่ทำตามฝันได้สำเร็จก็เป็นนักเตะที่มีสองสัญชาติในยุโรปอย่างที่เห็น

ลีกที่เปิดกว้าง

อีกหนึ่งเหตุผลที่นักเตะ อิรัก ค้าข้งในลีก เนเธอร์แลนด์ และ สวีเดน กันหลายคน เนื่องจากลีกฟุตบอลของทั้ง 2 ประเทศ อยู่ในระดับที่ไม่ได้แข็งแกร่งมากนัก

ลีก เนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะในลีกรอง และลีกสูงสุดของ สวีเดน นั้นเปิดกว้างมากสำหรับนักเตะจากต่างเเดน พวกเขาเป็นลีกที่มีค่าสัมประสิทธิ์ในยุโรปในระดับต่ำสุดคือ อยู่่ใน Tier 6

ดังนั้นด้วยลักษณะของลีกที่ไม่ได้แข็งแกร่งมาก รวมถึงการที่ทั้ง 2 ประเทศมีอคาเดมี่ฟุตบอล หรือศูนย์ฝึกในระดับชุมชนมากมาย พวกเขาจึงเป็นเวทีที่เปิดกว้างให้เด็ก ๆ หลากหลายสัญชาติที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้ลงเล่น และต่อยอดไปจนถึงลีกระดับสูงขึ้น จนกระทั่งเป็นลีกอาชีพ

PHOTO : The Independent

ซึ่งนักเตะของ อิรัก หลายคนจากชุดนี้ก็เคยเล่นให้กับ ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ หรือสวีเดน ชุดเยาวชนมาก่อน อาทิ โอซามา ราชิด (เนเธอร์แลนด์ ยู19), อาเมียร์ อัล อัมมารี (สวีเดน ยู19) และ อามิน อัล ฮามาวี (สวีเดน ยู 17) เป็นต้น

นอกจากนักเตะทีมชาติอิรักชุดคิงส์ คัพ ยังมีนักเตะ อิรัก ที่ค้าแข้งในลีกรอง เนเธอร์แลนด์ รวมถึงลีกสวีเดน ทุก ๆ ระดับอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ 2 ประเทศนี้เท่านั้น ประเทศที่เปิดรับผู้อพยพจากสงครามอิรักในช่วง ปี 2000s อื่น ๆ อาทิ เยอรมัน หรือ เบลเยี่ยม เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

https://en.wikipedia.org/wiki/Iraq_national_football_team

https://en.wikipedia.org/wiki/Refugees_of_Iraq

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ผักบุ้ง PBDS’ : หญิงแกร่งแห่งวงการฟุตบอลเดินสาย

สโมสร ‘แตงโม’ : ตำนานแชมป์เงินล้านบอลเดินสายสองปีติดทีมเดียวในประเทศไทย

ศราวุฒิ มาสุข : กับชีวิตใหม่ในเส้นทางฟุตบอลเดินสาย

แชร์บทความนี้
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

สนใจโฆษณาติดต่อ