ห้ามดื่ม ห้ามกิน : การถือศีลอดกระทบต่อสมรรถภาพแข้งมุสลิมหรือไม่ ?

ห้ามดื่ม ห้ามกิน : การถือศีลอดกระทบต่อสมรรถภาพแข้งมุสลิมหรือไม่ ?
ชยันธร ใจมูล


กาตาร์ ยูเออี ซีเรีย และ ซาอุดิอาระเบีย เป็นคู่แข่งกับทีมชาติไทยทั้งชุดใหญ่และชุดยู 23 ประเทศเหล่านี้คือประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก ซึ่งในช่วงเวลานี้ตรงกับเดือนรอมฎอน หรือการถือศีลอด ที่ห้ามกินและห้ามดื่ม ใน่วงพระอาทิตย์ขึ้น

คำถามคือเมื่อพวกเขาต้องอดอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อฟอร์มการเล่นในสนามของพวกเขามากน้อยแค่ไหน ?  ติดตามที่นี่

ศีลอดคืออะไร ?

สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ได้อธิบายว่า เดือนรอมฎอน คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม โดยจะเป็นเดือนที่ชาวมุสลิม จะต้องถือศีลอดทั้งเดือน หรือเรียกกันว่า "เดือนบวช" ตามหลักศาสนาในช่วงนี้จะเป็นการงดอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำดื่มด้วย โดยจะเริ่มอดกันตั้งแต่ในช่วงพรอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่การหยุดกินเท่านั้น แต่ช่วงเดือนรอมฎอนนี้ ยังเป็นช่วงเวลาของการฝึกความอดทยต่อสิ่งรอบตัวสำหรับชาวมุสลิมด้านอื่น ๆ ด้วย เช่นการหยุดทำชั่ว ไม่ทำร้ายหรือขโมย ไม่ไปในที่สถานที่ต้องหาม ไม่ดูสิ่งลามก ไม่รับฟังเรื่องไร้สาระ และไม่กล่าวนินทาชางบ้าน

เป้าหมายทั้งหมดเพื่อทำให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามไดทำความดีมากเป็นพิเศษ เน้นการบริจากให้ทาน ฝึกจิตใจ นอกจากนี้ รอมฎอน ยังเป็นเดือนแห่งความเมตตา ประตูสวรรค์เปิดประตูนรกปิด  เดือนนี้จึงหมั่นทำความดีให้มากๆมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อากิลบาเล็ฆ)  มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่า การเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง

คลิปตัวอย่างการใช้ชีวิตระหว่างการถือศีลอด 1 เดือน

โดยการถือศีลอดนี้ปฎิบัติสืบทอดต่อกันมานับพันปี และทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อที่จะต้องการให้มนุษย์ได้ทำความดี ชำระล้างจิตใจ เพื่อเป้าหมายในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้จิตวิญญาณของตัวเองสูงส่งขึ้นไป ตามเจตนารมณ์ของพระเจ้า

สำหรับนักฟุตบอลล่ะ ?

หากมองจากมุมมองคนนอกอาจจะมองว่าการถือศีลอดเป็นช่วงเวลาที่ส่งผลกระทบอย่างมากสำหรับนักกีฬาทั้งหลายที่ต้องใช้พลังกายและพลังใจอย่างสุด ๆ ในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักกีฬาอาชีพที่ต้องดูแลมื้ออาหารและโภชนาการ ก็ดูแล้วน่าเป็นห่วงกับการที่พวกเขาจะต้องอดอาหาร ก่อนการแข่งขันสำคัญ ๆ และเกิดเป็นคำถามว่าพวกเขาจะมีแรงเหลือพอให้ลงเล่นหรือไม่ ?

สำหรับเรื่องนี้ชาวมุสลิมนั้นมองเรื่องการถือศีลอดแตกต่างจากคนนอก พวกเขาบอกว่ามันไม่ได้หมายความการถือศีลอดนี้คือการทรมาณตัวเองแต่อย่างใด เพราะพวกเขารู้ว่าเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน พวกเขาจะมีอาหารกินอย่างแน่นอน ซึ่งในช่วงเวลาที่กินได้อาหารนั้น หากวางแผนการกินอย่างถูกต้อง มีการจัดแจงเรื่องโภชนาการให้เพียงพอและเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน พวกเขาก็จะสามารถผ่านสถานการณ์เหล่านั้นไปได้ แม้จะไม่ได้ดื่มน้ำ หรือกินอาหารเลยเป็นเวลา 10 ชั่วโมงก็ตาม

Photo :FIFA

นอกจากนี้นักวิยทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อย่าง ดร. ราซีน มาห์รูฟ ยังช่วยขยายเรื่องนี้ว่า การถือศีลอดมาตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ชาวมุสลิมสามารถรับมือกับช่วงเวลาของการอดอาหารได้ดีกว่าที่หลายคนคิด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของการถือศีลอดคือวันที่ 16 ถึงวันที่ 30 นั้น ร่างกายจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการอดอาหารได้อย่างสมบูรณ์แบบ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ จะสามารถกลับไปสู่การทำงานแบบเต็มประประสิทธิภาพได้เหมือนเดิมอีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากมองกลับกันในกรณีที่ไมได้มีการเตรียมความพร้อมที่ดีมากพอ ก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้หัวข้อ "ผลกระทบของเดือนรอมฎอนต่อสมรรถภาพทางกายของนักฟุตบอลอาชีพ" โดยบริษัท Br J Sports Med ได้ทดสอบด้วยการเอานักเตะมุสลิม 55 คนมาร่วมทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขาพบว่า 48 จาก 55 คน มีน้ำหนักตัวที่คงที่ตลอดโครงการ เพียงแต่ว่าประสิทธิภาพและทักษะอาจจะลดลงไปบ้าง เช่นเรื่องของความเร็ว การเลี้ยงบอล ความคล่องตัว ความอึด และการฟื้นตัวของร่างกาย

คลิป นักเตะมุสลิมลงเล่นโดยไม่ดื่มน้ำและกินอาหารได้อย่างไร ?

โดยจากการวัดเรื่องของความเร็วนั้น ปรากฎว่า ก่อนเดือนรอมฎอน นักฟุตบอลอาชีพที่เข้าทดสอบจะวิ่ง 20 เมตรและค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.13 เมตรต่อวินที แต่ในช่วงที่เข้าเดือนรอมฎอน พวกเขาจะวิ่งช้าลงเล็กน้อยเหลือ 6.92 เมตรต่อ วินาที  ช้าลงไป ราว 0.39 เมตรต่อวินาที  นอกจากนี้การเลี้ยงบอล รวมถึงการกระโดดในแนวดิ่งก็ยังทำได้ลดลงจากตอนที่ยังไม่ได้อยู่ในช่วงเดือนรอมฎอนอีกด้วย

Photo : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/

อย่างไรก็ตามนักฟุตบอลระดับแถวหน้าของโลกอย่าง โมฮาเหม็ด ซาลาห์, ซาดิโอ มาเน่ หรือ เวสลี่ย์ โฟฟาน่า ก็เคยถือศีลอดและรักษากฎอย่างเคร่งครัดด้วยการไม่กินและดื่มอะไรเลยในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งมีหลายเกมที่พวกเขาต้องลงเล่นทั้ง ๆ แบบนั้นโดยไม่กินไม่ดื่ม

ซึ่งอย่างที่รู้กันคือผลงานของนักเตะเหล่านี้โดยเฉพาะ ซาลาห์ และ มาเน่ นั้น แทบไม่ได้เห็นความแตกต่างเลย นอกจากนี้ เจอร์เก้น คล็อปป์ กุนซือของ ลิเวอร์พูล ก็ยืนยันว่าเขาไม่มีปัญหาเกี่ยวกับนักกีฬาที่ถือศีลอด เพราะเขานั้นให้ความเคารพต่อศาสนาที่ทุกคนนับถือย่างที่สุด

Photo : Daily Mail

ส่วนที่ มาเน่ และ ซาลาห์ รวมถึงคนอื่น ๆ ยังเล่นได้ดีในช่วงถือศีลอด ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงเวลาถือศีลอดมาเป็นอย่างดี มีการวางแผนการทางโภชนาการ และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาเชื่อว่าในการแข่งขัน เรื่องของ พลังกาย และพลังใจนั้นสำคัญคนพอ ๆ กัน การศรัทธาในพระเจ้าและศาสนา เปรียบเสมือนแรงฮึดที่ทำให้พวกเขาสามารถเอาพลังเหล่านี้มาทดแทนการถดถอยทางกายภาพก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามก็มีนักฟุตบอลบางคนที่ไม่สามารถรับมือกับการเล่นฟุตบอลระดับสูงไปพร้อมกับ ๆ การถือศีลอดได้ เช่นในรายของ นิโกล่าส์ อเนลก้า อดีตกองหน้าทีมชาติ ฝรั่งเศส นั้นก็เคยเลือกที่จะไม่ถือศีลอดในวันที่มีการแข่งขัน โดยเขาจะใช้การชดเชยถือศีลอดเพิ่มในภายหลัง นอกจากนี้ยังมี เมซุต โอซิล ที่ขอเลื่อนการถือศีลอดในช่วงปี 2014 เพราะตรงกับช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกพอดี ซึ่งสุดท้ายเขาก็พาเยอรมัน คว้าแชมป์โลกได้สำเร็จ

คู่แข่งไทยยู 23 และทีมชาติชุดใหญ่ชาติเหล่านี้กระทบไหม ?

แน่นอนว่าเรื่องที่หลายคนสงสัยคือ ทีมชาติไทยชุดยู 23 ที่ต้องเจอกับ ซาอุดิ อาระเบีย และ กาตาร์ ขณะทีมชาติไทยชุดใหญ่เจอกับ ซีเรีย และ ยูเออี ในเกมอุ่นเครื่อง โดยทั้ง 4 ชาติที่กล่าวมาล้วนเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากกว่า 90% ทั้งสิ้น แน่นอนว่าพวกเขาเองก็ต้องถือศีลอดในช่วงเวลานี้ด้วย

อย่างไรก็ตามดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่าการถือศีลอดนั้นห้ามกินและดื่มในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเราจึงได้เห็นฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดโปรเเกรมมาให้อยู่ในช่วงเวลาหลัง 2 ทุ่มเป็นต้นไป(ตามเวลาท้องถิ่น) เพื่อให้นักฟุตบอลได้เตรียมตัว และสามารถดื่มกินได้ตามปกติ

ไฮไลต์เกมล่าสุดของทีมชาติไทยชุดยู 23

แม้จะมีกรอบเวลาให้กินค่อนข้างสั้น แต่อย่าลืมว่ายุคนี้วิวัฒนาการทางโภชนาการนั้นไปไกลมาก มันมีอาหารเหลวหรือที่เราเรียกกันว่า "เจลพลังงาน" (power gel หรือ energy gel) ที่สามารถชดเชยมื้ออาหารได้ภายในหลอดเดียว ลักษณะของพาวเวอร์เจลเป็นสารอาหารในรูปแบบเจลลี่ ที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ ซึ่งการที่พาวเวอร์เจลอยู่ในลักษณะเจลลี่ ก็ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารจากพาวเวอร์เจลไปใช้ได้ทันที

ด้วยความที่เป็นแหล่งให้พลังงานสูง ทำให้ร่างกายฟื้นฟูสภาพได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ปกติแล้วอาหารพลังงานสูงชนิดนี้มักจะถูกใช้บ่อยในกลุ่มนักกีฬาที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน และแน่นอนว่าสำหรับนักฟุตบอลก็เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใจได้ สู้สนุก : 5 แข้งไทยยู 23 ฟอร์มเยี่ยมเกมดวล ซาอุดิอาระเบีย

โจนาธาร เข็มดี : เซนเตอร์พันธุ์ห้าวดาวดวงใหม่ทัพช้างศึก

ไม่มีเกมแต่มีของ : ปุรเชษฐ์ ทอดสนิท ไพ่เด็ดทีมชาติไทยชุดยู-23

จากดาวรุ่ง T3 : ธีรศักดิ์ เผยพิมาย วันเดอร์คิดท่าเรือฯ ผู้แจ้งเกิดสำเร็จเพียง 1 เดียว

แหล่งอ้างอิง

https://news.muslimthaipost.com/news/36963

https://www.bbc.com/thai/international-60970014

https://link.springer.com/article/10.1007/s40279-021-01586-8

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2465333/

https://skthai.org/th

https://health.kapook.com/view195889.html

แชร์บทความนี้

ข่าวและบทความล่าสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการ, คิดไซด์โค้ง-ThinkCurve
mask-bg
logo-black

SOCIAL MEDIA

MOST POPULAR

สนใจโฆษณาติดต่อ